รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

13 เนื่องจากพื้นฐานทางสังคมของไทยได้ถูกยึดโยงกับศาสนาและในอดีตพฤติกรรมรักเพศเดียวกันถูกมองเป็น เรื่องวิปริตผิดเพศ การยอมรับภายในสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากสาหรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคน หลากหลายทางเพศ แต่ในปัจจุบันสังคมไทยได้เริ่มเปิดกว้างกับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมากขึ้น ทัศนคติต่าง ๆ ที่เคยถูกต่อต้านได้รับการยอมรับขึ้นมาในระดับหนึ่ง องค์กรต่างๆ หลายองค์กรได้มีความพยายามในการตรา กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่ประสงค์จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ซึ่งกฎหมายนี้ใช้ชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ....” จัดทาขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม มีวัตถุประสงค์ในการรองรับ ความสัมพันธ์การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวระหว่างบุคคลที่มีเพศเดียวกันโดยกาเนิด โดยมีการอุปการะเลี้ยงดูและมี ความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างไปจากคู่สมรส ซึ่งสาระสาคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นการกาหนด บทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิตและการเลิกการเป็นคู่ชีวิต สิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่ชีวิต การ จัดการทรัพย์สิน การรับบุตรบุญธรรม และมรดก ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้ง ขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ และสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ประกอบกับเพื่อให้เป็น การสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อีกทั้งได้กาหนดเงื่อนไขให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ หรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันจดทะเบียนความสัมพันธ์แบบการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันได้ และให้นาเอาสิทธิและหน้าที่ระหว่าง สามีภริยาในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ในการรับมรดกใน บรรพ 6 มาใช้ บังคับกับคู่ชีวิตตามร่างกฎหมายนี้โดยอนุโลม โดยคานึงถึงสิทธิและความเท่าเทียมระหว่างเพศตามบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้สังคมบางส่วนจะให้การยอมรับต่อกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมากขึ้น แต่ก็ยังมีบางส่วนที่มอง กลุ่มคนหลากหลายทางเพศอย่างดูถูกเหยียดหยาม ดังนั้นหากต้องการให้สังคมไทยยอมรับในสถานะของกลุ่มคน หลากหลายทางเพศคงจะต้องทาความเข้าใจในจุดที่ละเอียดอ่อนทางทัศนคติของบุคคลในสังคม ให้ได้เสียก่อน เพื่อ หาแนวทางต่างๆ เพื่อปรับทัศนคติของประชาชนในสังคมโดยรวม 5. สรุปและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุป ปัจจุบันมิได้มีเพียงเพศชายหรือหญิงแท้เท่านั้น แต่มีกลุ่มคนหลากหลายทางเพศอยู่ด้วย โดยกลุ่มบุคคล เหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเทียมกับกลุ่มบุคคลต่างเพศที่ทาการจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียน สมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ซึ่งบัญญัติ ไว้ให้สาหรับเพศชายและเพศหญิง เท่านั้นที่จะสามารถทาการสมรสกันได้ โดยผลจากการสมรสที่กฎหมายให้การรับรองทาให้ผู้ที่จดทะเบียนสมรสเกิด สิทธิและหน้าที่ต่างๆ หลายประการตามที่กฎหมายกาหนดไว้ให้ แต่ในความเป็นจริงในปัจจุบันมิได้มีเพียงชายจริง หญิงแท้เท่านั้นแต่มีกลุ่มคนหลากหลายทางเพศอยู่ด้วย ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เท่าเทียม กับกลุ่มบุคคลต่างเพศที่ทาการจดทะเบียนสมรส เนื่องด้วยประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในการให้การรับรองสถานะ ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่มีเพศเดียวกัน แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติเรื่องการรับรอง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3