รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

14 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ สิทธิความเสมอภาคของบุคคลที่แสดงให้เห็นว่ากฎหมายไทยมีความประสงค์ ที่จะให้ประชาชนทุกคนมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันตามกฎหมายแล้วก็ตาม จึงได้มีการพยายามผลักดันให้ เกิดกฎหมายในการรับรองสถานะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันให้แก่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศขึ้นมา จนในที่สุดความพยายาม ก็ประสบความสาเร็จเมื่อคณะกรรมาธิการกฎหมายสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการประชุมหารือและได้มีการเสนอ ร่างกฎหมายที่มีชื่อว่า “ร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. ...” และได้ผ่านการพิจารณาของสภา ผู้แทนราษฎรในวาระที่หนึ่ง ขั้นตอนรับหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 หลักการความสาคัญและเหตุผลที่จาเป็นต้องมีกฎหมายรับรองสถานะจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคน หลากหลายทางเพศจะมีน้าหนักและมีความสมเหตุสมผลเพียงใด แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคปัญหาที่สาคัญ คือ “ประชาชน” เนื่องด้วยร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกและความรับรู้ของ ประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง แม้สังคมไทยปัจจุบันจะเป็นสังคมที่เปิดกว้างให้กับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศอย่าง กว้างขวางก็ตาม แต่ก็ยังคงมีประชาชนบางกลุ่มที่มองว่าร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิตขัดต่อความสงบ เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า รัฐควรมีการสร้างทัศนคติที่ดีของประชาชนต่อกลุ่มคน หลากหลายทางเพศเพื่อให้เกิดการยอมรับในสิทธิต่างๆ ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศภายในสังคมไทยอย่าง เสมอภาคและเท่าเทียม 5.2 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษา “กฎหมายกับความเสมอภาคต่อการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ” ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข ดังนี้ (1) รัฐควรออกกฎหมายในการรับรองสถานะการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ เช่นเดียวกับการออกกฎหมายรับรองสถานะสมรสของบุคคลต่างเพศ เนื่องด้วยการรับรองสถานะการจดทะเบียน สมรสนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐที่รัฐจะต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชน (2) รัฐต้องบัญญัติกฎหมายในการรับรองสถานะการจดทะเบียนสมรสแก่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ แยก ออกมาอีกฉบับ แตกต่างจากการรับรองสถานะสมรสของบุคคลต่างเพศที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว เพื่อเป็นการรับรองการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันแก่ประชาชนอย่างเสมอภาคและเท่า เทียมกัน 6. เอกสารอ้างอิง [1] นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560 ). เพศในเขาวงกต แนวคิดทฤษฎีเพศในวัฒนธรรมบริโภค. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3