รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
20 ความกลัว โดยหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นหนี้ค่าโทรศัพท์ หนี้บัตรธนาคาร มีบัญชีธนาคารพัวพันกับยาเสพติด บัญชีธนาคารจะต้องถูกอายัดและถูกตรวจสอบโดยสานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อ ผู้เสียหายหลงเชื่อจะทาธุรกรรมทางการเงินตามที่กลุ่มคนร้ายแจ้ง ซึ่งในปัจจุบันส่วนใหญ่ลักษณะการ หลอกลวงจะใช้วิธีทาให้ผู้เสียหายเกิดความกลัว 3. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แนวความคิดในการกาหนดความผิดทางอาญาที่บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาอาจพิจารณได้จาก แนวคิดในการกาหนดความรับผิดในทางอาญา (วิสาร พันธุนะ, 2543) ดังนี้ 1. ทฤษฎีความรับผิดที่ต้องอาศัยการกระทาและความผิดของจิต โดยในการกาหนดความรับผิดในทาง อาญาจะให้ความสาคัญเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดในจิตใจของผู้กระทาเป็นสาคัญ โดยมีปัจจัยอยู่ 2 ประการ (1.1) พิจารณาจากความเป็นภัยต่อสังคม (1.2) พิจารณาจากสภาวะของจิตใจเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า “เจตนา” โดยรู้สานึกในการ กระทาของตนและประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทา และมีข้อยกเว้นในการกระทาโดยไม่คานึงถึง ผลที่เกิดจากการกระทาของตน หรือที่เรียกการกระทานั้นว่า “ประมาท” 2. ทฤษฎีความรับผิดโดยเคร่งครัด ทฤษฎีนี้ถือเอาการกระทาเป็นตัวกาหนดความรับผิดทางอาญาโดย ไม่ต้องคานึงถึงสภาวะแห่งจิตใจ กล่าวคือ ถึงแม้กระทาโดยไม่เจตนาก็ต้องรับผิดทางอาญา 3. ทฤษฎีความรับผิดในการทาของบุคคลอื่น ทฤษฎีนี้กาหนดให้บุคคลต้องรับผิดในการกระทาของ บุคคลอื่น โดยไม่ต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้นจะได้กระทาความผิดหรือไม่ หรือสภาวะแห่งจิตใจเป็นเช่นไร ความผิดด้านอาชญากรรมตามกฎหมายอาญาของประเทศไทย 1. องค์ประกอบและโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายอาญาของประเทศไทย กฎหมาย อาญาประกอบด้วยองค์ประกอบที่สาคัญสองส่วนด้วยกัน ดังนี้ 1. ความผิดอาญา 2. ผลทางกฎหมายจากความผิดทางอาญา หรือที่เรียกว่ามาตรการบังคับทางอาญา การลงโทษเป็นสิ่งสาคัญในทางกฎหมายอาญา โดยการลงโทษจะเป็นการกระทาต่อผู้กระทาความผิด อย่างมีวัตถุประสงค์หลายประการ เช่น มีวัตถุประสงค์ลงโทษเพื่อเป็นการทดแทน วัตถุประสงค์ลงโทษเพื่อเป็น การการข่มขู่ยับยั้ง วัตถุประสงค์ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทาความผิด วัตถุประสงค์เพื่อตัดผู้กระทาความผิดออก จากสังคม วัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายและมีวัตถุประสงค์เพื่อกระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ ซึ่งการลงโทษจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ (ณรงค์ ใจหาญ, 2543) ดังนี้ 1. โทษต้องมีความแน่นอนไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ 2. การลงโทษต้องมีความรุนแรงพอที่จะยับยั้งไม่ให้คนกล้าที่จะกระทาความผิด 3. การลงโทษต้องมีความรวดเร็ว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3