รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
21 4.การลงโทษต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะชนเพื่อให้ทราบถึงผลของการกระทาความผิด ซึ่ง จะมีผลเป็นการข่มขู่ไปในคราวเดียวกัน อาชญากรรมแต่ละประเภทมีความรุนแรง (Seriousness) แตกต่างกันอย่างชัดเจน ตั้งแต่ความผิด เล็กน้อย เช่น ลักเล็กขโมยน้อย ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทาร้ายร่างกาย ไปจนถึงการฆาตกรรม โดย ความรุนแรงหรือความร้ายแรงของอาชญากรรมนั้นขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานทางสังคมซึ่งอาจแตกต่างกัน โดยอาจ ขึ้นอยู่กับจารีต วัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด รวมทั้งความร้ายแรงของอาชญากรรมยังอาจมาจากความถี่ในการก่อ อาชญากรรม สถานที่เกิดเหตุ รวมถึงเหยื่อ ความร้ายแรงของอาชญากรรมยังวัดได้จากความเสียหาย (Harmfulness) ผู้เสียหายหรือเหยื่อ (Victim) ที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรม รวมทั้งพิจารณาจากศีลธรรมและความไม่ถูกต้อง (Wrongfulness) ของ อาชญากรรมนั้น ๆ ซึ่งความเสียหายและความไม่ถูกต้องของอาชญากรรมถือเป็นสาระสาคัญสาหรับอาชญากรรม บางประเภท (วันชัย รุจนวงศ์ และวีระศักดิ์ แสงสาระพันธ์, 2549) ความร้ายแรงของอาชญากรรมนั้นส่งผลต่อการ กระทาของผู้คนในสังคม ซึ่งการจะตัดสินว่าอาชญากรรมใดร้ายแรงหรือไม่นั้นเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมของ มนุษย์ กระบวนการพิจารณาคดีและการพิพากษาลงโทษของศาลว่า อาชญากรรมนั้นเป็นอาชญากรรมร้ายแรง หรือไม่ ดังนั้น ความร้ายแรงของอาชญากรรมจึงเป็นคนละกรณีกับ “สภาพของการกระทาความผิด” กล่าวคือ ความร้ายแรงขึ้นอยู่กับโทษที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น ส่วนสภาพของการกระทา ความผิด หมายถึง กรณีที่เกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษ หรือเหตุฉกรรจ์ จากความผิดที่ได้ก่อให้เกิดขึ้น (เกียรติขจร วัจนสวัสดิ์, 2546 อ้างถึงใน วันชัย รุจนวงศ์ และวีระศักดิ์ แสงสาระพันธ์, 2549) ความผิดอาญาร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยมิได้บัญญัตินิยามของคาว่า อาชญากรรมร้ายแรงเอาไว้ว่าจะต้องเป็นความผิดลักษณะอย่างไร แต่มีการกาหนดลักษณะความผิดร้ายแรง เอาไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 ในคดีที่มีอัตราโทษจาคุกตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานจากฝ่ายโจทก์จนเชื่อแน่ว่าจาเลยได้กระทาความผิด จริง จึงเป็นความเข้าใจโดยนัยว่าความผิดร้ายแรงตามกฎหมายไทย คือความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจาคุกอย่าง ต่า5 ปี ขึ้นไป ซึ่งจาเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานจากโจทก์ หรือ ต้องสืบพยานหลักฐานจนกว่าจะ พอใจว่าจาเลยได้กระทาความผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษได้ แม้ในคดีที่จาเลยให้การรับสารภาพก็ต้องห้ามมิ ให้ศาลลงโทษโดยอาศัยคาให้การอย่างเดียว (วันชัย รุจนวงศ์ และวีระศักดิ์ แสงสาระพันธ์, 2549) ความผิดต่อทรัพย์สินโดยการหลอกลวงในความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดต่อทรัพย์สินโดยมีลักษณะสาคัญคือการใช้กลอุบาย หลอกลวง และ ได้ทรัพย์สินไปจากการหลอกลวงนั้น ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง โดยตรงหรือของบุคคลที่สาม หรือทาให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทา ถอนหรือทาลาย เอกสารสิทธิ และผู้กระทาต้องมีเจตนาพิเศษ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3