รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
22 คือ กระทาโดยเจตนาทุจริต โดยความผิดฐานฉ้อโกง ได้บัญญัติเอาไว้ในมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมาย อาญา ดังนี้ “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิด ข้อความจริง ซึ่งควร บอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูก หลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทาให้ผู้ ลูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทา ถอนหรือทาลายเอกสาร สิทธิ ผู้นั้นกระทาความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวาง โทษจาคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพัน บาท หรือทั้งจาทั้งปรับ” โดยความผิดฐานฉ้อโกง (Offences of cheating and fraud) มีองค์ประกอบ ภายนอก ของความผิด ในส่วนของการกระทา และองค์ประกอบภายในที่เกี่ยวคับจิตใจของผู้กระทาความผิด 1. ต้องมีการหลอกลวง การหลอกลวง หมายความว่า การทาให้เกิดการเข้าใจผิดไปจากความจริง แต่ ไม่รวมถึงการถือเอาประโยชน์จากความสาคัญผิดของผู้อื่น ซึ่งการหลอกลวงจะต้องเกิดจากการกระทาของผู้ หลอกลวงโดยอาจเป็นการแสดงข้อความเท็จ หรือ ปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยมีลักษณะ ดังนี้ (1) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หมายความว่า ข้อความที่แสดงต่อผู้อื่น ในการ หลอกลวงเป็นการกล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่งต้องเป็นเท็จ (2) ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง หมายความว่า การที่มีข้อความจริงอยู่อย่างใดอย่าง หนึ่ง แล้วปกปิดเอาไว้หรือไม่เปิดเผยบอกให้ทราบความจริง การหลอกลวงจนทาให้เกิดความเสียหายในทางทรัพย์สินของผู้อื่น ความผิดฐานฉ้อโกงจึงจะสาเร็จ 2. การหลอกลวงนั้นเป็นเหตุให้ผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อความผิดฐานฉ้อโกงเป็นความผิดที่ต้องการผล หากผู้ถูกหลอกลวงไม่หลงเชื่อตามคา หลอกลวงอาจเป็นเพียงความผิดฐานพยายามฉ้อโกง 3. ทาให้เกิดการโอนทรัพย์สินของผู้ลูกหลอกลวง การโอนทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวงเกิดขึ้นได้หลาย กรณี ไม่ว่าจะเป็นการได้ไปซึ่ง ทรัพย์สินจากผู้ลูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทาเอกสารสิทธิ หรือถอนเอกสาร สิทธิ หรือถอน เอกสารสิทธิ 4. การหลอกลวงนั้นทาให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง ความผิดฐานฉ้อโกงจะสาเร็จก็ต่อเมื่อได้ไปซึ่งทรัพย์สิน เพียงแต่โอนกรรมสิทธิยังไม่ ว่าความผิดฐาน ฉ้อโกงสาเร็จ จะต้องมีการส่งมอบหรือได้ไปซึ่งสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินด้วย 5. องค์ประกอบภายในของความผิดฐานฉ้อโกง 5.1. เจตนาธรรมดา หมายถึงผู้กระทาความผิดฐานฉ้อโกงมีเจตนาที่จะทาให้เกิดการเข้าใจผิด และความเสียหายต่อทรัพย์สิน 5.2 เจตนาพิเศษ สาเหตุหรือมูลเหตุชักจูงในการหลอกลวงหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควร ได้จากผู้ลูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือเพื่อให้ผู้ลูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทา ถอน หรือทาลาย เอกสารสิทธิ ดังนั้น เจตนาพิเศษโดยประโยชน์ที่มิควรได้นั้นไม่จาเป็นต้องถึงกับได้กรรมสิทธิไปก็เข้าข่ายเป็น ความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ลักษณะของการกระทาความผิดฐานฉ้อโกงที่สาคัญมีดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3