รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

24 โดยตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยบัญญัติไว้ว่า “ถ้าการกระทาความผิดตาม มาตรา 341 ได้กระทาด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือ ด้วยการปกปิดความจริง ซึ่งควรบอกให้ แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทาต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน ห้าปี หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือ ทั้งจาทั้งปรับ ถ้าการกระทาความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวใน มาตรา 342 อนุมาตราหนึ่ง อนุมาตราใด ด้วยผู้กระทาต้องระวางโทษจาคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 7 ปี และ ปรับตั้ง แต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท” ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนนั้น มิได้ถือเอาจานวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามีจานวนมากหรือน้อย เป็นหลัก แต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสาคัญ และต้องกระทาการดังกล่าวด้วย ตนเองมาแต่ต้นทุกครั้ง เช่น หลอกลวงผู้เสียหายจานวนหลายคน รวมทั้งบุคคลอื่นตามสถานที่ต่าง ๆ โดย ไม่ จากัดบุคคล การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทาการใดๆให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยจะพิจารณาจากวิธีการในการหลอกลวง จานวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงประกอบ โดยต้องเป็น การหลอกลวงบุคคลต่าง ๆ ตามวาระและสถานที่โดยไม่จากัดบุคคล แม้แสดงต่อผู้เสียหายบางคน แต่ทาให้ ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อตามคาหลอกลวง แล้วได้ไปซึ่งทรัพย์ของผู้ถูกหลอกลวง ก็เป็นการฉ้อโกงประชาชน แล้ว สรุป อาชญากรรมเป็นปรากฏการณ์หนึ่งของสังคมที่เกิดขึ้นโดยการกระทาของบุคคลซึ่งการกระทานั้น ๆ กฎหมายได้บัญญัติเป็นข้อห้าม และถือว่าเป็นความผิด ซึ่งผู้กระทาผิดจะต้องได้รับการลงโทษ ฉะนั้นความ ประพฤติของบุคคลใด ๆ ก็ตามจะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับความคานึงของสมาชิกในสังคมนั้น เป็นสาคัญ สิ่งที่เรียกว่าดีหรือเลว ถูกกาหนดด้วยความคิดคานึงของคนในสังคมเป็นสาคัญ ดังนั้น จึงสามารถ พิจารณาได้ว่าการกระทาใดเป็นอาชญากรรมหรือไม่นั้น มีแนวทางพิจารณา ดังนี้ 1. แนวทางการนิยามโดยให้ ความสาคัญกับการให้ความหมายแก่การกระทาโดยกลุ่มคนในสังคม แนวทางการใช้บรรทัดฐานที่ผู้คนร่วมกัน สร้างขึ้นเป็นมาตรฐานในการตัดสินว่าการกระทาใดเป็นความผิดหรือไม่ 2. การนิยามโดยใช้บทบัญญัติใน กฎหมายมาวินิจฉัยตัดสินว่าการกระทาอย่างหนึ่งอย่างใด ของบุคคลเป็นความผิดหรือไม่ ซึ่งการนิยามตาม แนวทางนี้อานาจในการนิยามความหมายของคาว่า อาชญากรรม จะเป็นอานาจหน้าที่ของรัฐ อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อบรรทัดฐานทางสังคมไม่สามารถใช้ควบคุมการกระทาของบุคคลในสังคม หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางสังคมของบุคคลได้ ก็จะ เป็นเหตุให้บุคคลล่วงละเมิดและฝ่าฝืน บรรทัดฐานทางสังคมและนาไปสู่การกระทาความผิด โดยความรุนแรงหรือความร้ายแรงของอาชญากรรมนั้น ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งอาจแตกต่างกัน โดยอาจขึ้นอยู่กับจารีต วัฒนธรรมเป็นตัวกาหนด รวมทั้ง ความร้ายแรงของอาชญากรรมยังอาจมาจากความถี่ในการก่ออาชญากรรม สถานที่เกิดเหตุ รวมถึงเหยื่อ ความ ร้ายแรงของอาชญากรรมยังวัดได้จากความเสียหาย (Harmfulness) ผู้เสียหายหรือเหยื่อ (Victim) ที่ได้รับ ความเสียหายจากอาชญากรรม รวมทั้งพิจารณาจากศีลธรรมและความไม่ถูกต้อง (Wrongfulness) ของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3