รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
25 อาชญากรรมนั้น ๆ ซึ่งความเสียหายและความไม่ถูกต้องของอาชญากรรมถือเป็นสาระสาคัญสาหรับ อาชญากรรมบางประเภท ซึ่งความร้ายแรงของอาชญากรรมส่งผลต่อการกระทาของผู้คนในสังคม ดังนั้น ความร้ายแรงของอาชญากรรมจึงเป็นคนละกรณีกับ “สภาพของการกระทาความผิด” กล่าวคือ ความร้ายแรงขึ้นอยู่กับโทษที่กฎหมายกาหนดไว้สาหรับความผิดนั้น ส่วนสภาพของการกระทาความผิด หมายถึง กรณีที่ เกี่ยวกับเหตุบรรเทาโทษหรือเหตุฉกรรจ์จากความผิดที่ได้ก่อให้เกิดขึ้น เมื่อการกระทาความผิดของแก๊ง คอลเซ็นเตอร์เป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศแต่ความผิดที่ลงแก่ผู้กระทาความผิดได้ ก็แต่โดยอาศัย ความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่น ด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือ บุคคลที่สามหรือทาให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทา ถอนหรือ ทาลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทาความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจาและปรับ” องค์ความรู้ใหม่ ผู้ศึกษาเห็นว่า ฐานความผิดที่ใช้ในการลงโทษแก๊งคอลเซ็นเตอร์ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับลักษณะความ ร้ายแรงของอาชญากรรมซึ่งประกอบไปด้วยความถี่ในการก่ออาชญากรรม สถานที่เกิดเหตุ รวมถึงเหยื่อนอกจากนี้ ความร้ายแรงของอาชญากรรมซึ่งจะต้องวัดจากความเสียหาย (Harmfulness) ผู้เสียหายหรือเหยื่อ (Victim) ที่ ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรม รวมทั้งพิจารณาจากศีลธรรม และความไม่ถูกต้อง(Wrongfulness) ของ อาชญากรรมนั้น ๆ การวินิจฉัยไปตามความผิดฐานฉ้อโกงที่ระวางโทษจาคุกเพียงไม่เกิน3 ปี จึงมีอัตราโทษต่าเมื่อ เทียบกับความรุนแรงของอาชญากรรมหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ไปจากการหลอกลวงเหยื่อ จึงเห็นว่ารัฐควรเร่งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาในส่วนของความผิดฐานฉ้อโกง การฉ้อโกงโดยแสดงเป็น ผู้อื่น หรือการฉ้อโกงประชาชนให้มีความผิดฐานฉ้อโกงในรูปแบบของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยเป็นความผิดที่มี ระวางโทษที่สูงให้เหมาะสมกับลักษณะการกระทาความผิด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้า พนักงานและเพื่อความสงบสุขในสังคมต่อไป เอกสารอ้างอิง (References) [1] เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2546). คาอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์. [2] ณรงค์ ใจหาญ. (2543). กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพมหานคร: วิญญู ชน. [3] ฐิติมา อินกล่า. (2558). “วาทกรรมทางการสื่อสารเพื่อการหลอกลวงทาธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ผ่าน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. [4] วิสาร พันธุนะ. (2543). สาระสาคัญของประมวลกฎหมายอาญา: เอกสารการสอนชุดวิชาความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป หน่วยที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3