รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
28 a complete difference from euthanasia. By mortice, it is the right to give the patient to death, which is the right that the patient should have. Which threction Is the end of life that is intended To get out of the pain But palliative care is to sustain the lives of patients to be able to continue living. Which under Thai law There is no authorisation to use the euthanasia law. Therefore, euthanasia in Thailand is not very widespread and known. Which the treatment that is suitable for patients in Thailand Probably just a palliative treatment Keywords : Rights of Death, euthanasia, palliative care บทนา ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์กับความเจ็บปวดของโรคต่างๆในระยะสุดท้ายหรือความเจ็บปวดจาก การ ประสบอุบัติเหตุที่รุนแรงอยู่ไม่น้อย ที่แม้แต่การรักษาทางการแพทย์ก็ไม่ช่วยทุเลาอาการลงได้ ซึ่งการยื้อ ชีวิตผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ในปัจจุบันนั้นก็เป็นเพียงการยื้อเวลาตายเท่านั้น ซึ่งนอกจาก ผู้ป่วยจะต้องได้รับความทุกทรมานจากอาการเจ็บป่วยแล้วยังคงต้องรับภาระใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาจานวน มากเพื่อยื้อชีวิตของผู้ป่วยไว้ การใช้สิทธิในการตายที่สามารถเลือกได้ด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นสิทธิในเนื้อตัว ร่างกายตามรัฐธรรมนูญที่มนุษย์ทุกคนพึงมี จึงควรเป็นตัวเลือกที่ผู้ป่วยสามารถเลือกที่จะจบชีวิตตัวเองอย่าง สงบอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรกของโลกที่มีกฎหมายรองรับการุณยฆาตโดยออกกฎหมาย รองรับการการุณยฆาต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และรัฐสภาผ่านกฎหมายช่วยเหลือการฆ่าตัวตายและปลิดชีพตาม คาร้องขอ เมื่อปี พ.ศ. 2544 คาร้องขอสิทธิที่จะตายอย่างสงบจะต้องเป็นแบบแสดงเจตจานงและผ่านการ พิจารณาอย่างรอบคอบของแพทย์ โดยมีขอบเขตของผู้ป่วยที่จะร้องขอให้จบชีวิตตนเองจะต้องทนทุกข์ทรมาน จากอาการของโรคร้ายอย่างแสนสาหัส ซึ่งแพทย์ได้หมดหนทางที่จะรักษาและต้องได้รับความยินยอมจาก ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย ซึ่งในแต่ละปีมีผู้เลือกที่จะจบชีวิตด้วยการทาการุณยฆาตนับหมื่นคน ขณะที่ประเทศไทย นั้นก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งสามารถให้บุคคลมีสิทธิทาหนังสือแสดง เจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยึดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติ การทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ถือเป็นกฎหมายหนึ่งที่ รับรองสิทธิของผู้ป่วยที่ต้องการจะถูกยื้อชีวิตเอาไว้ด้วย อุปกรณ์ทางการแพทย์โดยผู้ป่วยสามารถเลือกที่จะจากไปอย่างสงบได้ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สิ ทธิตาม พระราชบัญญัตินี้มิใช่เป็นการให้สิทธิในการกระทาการการุณยฆาต ซึ่งในสังคมไทยปัจจุบันยังคงมีการถกเถียง ถึงความเหมาะสมในการจะให้การตายเป็นสิทธิที่เลือกได้ตามกฎหมายโดยมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและฝ่ายที่คัดค้าน ถึงการจัดการชีวิตผู้ป่วยที่หมดทางเยียวยาให้ได้รับคุณภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยมีความคิดเห็นจาก หลายแง่มุมทั้งทางการแพทย์ สังคม ศาสนา และความชอบธรรมทางกฎหมายและปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยใน ปัจจุบันนั้นมุมมองทางพระพุทธศาสนายังคงมีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชนคนไทยอยู่ไม่น้อย การจบชีวิต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3