รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
29 ตนเองจึงเป็นการขัดกับหลักศาสนาจริยธรรมและศีลธรรมอันดีที่สังคมไทยยึดถือ[7] การ “การุณยฆาต” จึงยัง ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากพอสมควร เมื่อเทียบกับบางประเทศในฝั่งตะวันตก ทาให้ปัจจุบันประเทศไทย ก็ ยังคงไม่มีกฎหมายโดยตรงออกมารองรับสิทธิในการเลือกตายของผู้ป่วยแต่จะมุ่งเน้นไปที่ การดูแล แบบ ประคับประคอง[3] ซึ่งจะให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้โดยเฉพาะในช่วงใกล้เสียชีวิต เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวไม่ ตื่นตระหนก เข้าใจและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ การดูแลแบบประคับประคอง จึงมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการ ดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกาจัดตัวโรค การดูแลแบบประคับประคองจะคานึงถึงความต้องการและ ความปรารถนาของผู้ป่วย และครอบครัวร่วมด้วยเสมอ ซึ่งการดูแลแบบประคับประคองมิได้เป็นเพียงการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายเท่านั้น หากแต่เป็นแนวทางการดูแลในภาพกว้าง ตั้งแต่เริ่มเผชิญภาวะความเจ็บป่วยที่อาจ เป็นอันตรายต่อชีวิต ครอบคลุมจนถึงการดูแลในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เป็นการดูแลแบบองค์รวมตั้งแต่ต้น ตราบจนวาระสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการการประคับประคองดูแลอีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่อมได้รับความ คุ้มครอง และ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย จะเห็นได้ว่าตาม หลักกฎหมายแล้วมนุษย์ ทุกคนย่อมมีสิทธิในชีวิตและร่างกายของตนเองตั้งแต่กาเนิด ซึ่งเป็นคุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานทางด้านกฎหมาย ที่ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ การุณยฆาต จึงถือเป็นสิทธิมนุษยชนแบบหนึ่ง ที่ มนุษย์ทุกคนพึงได้รับ และไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาละเมิดได้ จากข้อกฎหมายนี้ทาให้เห็นว่าการที่บุคคลสามารถ ตัดสินใจตายถือเป็นสิทธิที่สามารถทาได้[1] การการุณยฆาต (Euthanasia) การตาย หมายถึง การที่บุคคลนั้นสิ้นสภาพความเป็นบุคคลด้วยหัวใจหยุดเต้น เมื่อสภาพความ เป็น บุคคล สิ้นสุดแล้ว สิทธิเสรีภาพของบุคคลก็สิ้นตามไปด้วย อนึ่ง ความตายเป็นสิ่งที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ การจะตายอย่างมีศักดิ์ศรีนั้น ควรเป็นสิ่งที่เราสามารถจะเลือกได้เองหรือไม่ ถ้าตัดสินใจแล้วว่าชีวิตอัน ปราศจากอิสรภาพหาใช่ชีวิตที่ควรค่าแก่การดารงอยู่ จากคาถามทานองนี้นี่เองซึ่งได้นาไปสู่การทวงถามถึงสิทธิ ในการตายของบุคคลขึ้นมา กลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดลักษณะนี้ ได้ทาการเรียกร้องสิทธิจาพวกใหม่ในนามสิทธิที่ เรียกว่า สิทธิในการตาย (Right to Die) พร้อมมีความเชื่อว่าสิทธิในการตายเป็นองค์ประกอบสาคัญของ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) บนแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน (Human Right) ในส่วนของ เสรีภาพ (Freedom/Liberty) ในการที่จะกาหนดวาระสุดท้ายของชีวิตตนเองให้จากไปอย่างสงบ บุคคลควรมี สิทธิที่จะเลือกตายในบ้านของตัวเอง อันล้อมรอบไปด้วยคนในครอบครัว แทนที่จะต้องไปตายที่โรงพยาบาล ซึ่งห้อมล้อมไปด้วยคนอื่น ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธการรั้งชีวิตด้วยวิธีการรักษาทางการแพทย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3