รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
30 ต่างๆ หรือแม้กระทั้งการที่ผู้ป่วยนั้นจะร้องขอให้แพทย์จบชีวิตของตน เพราะทนต่อความเจ็บปวดต่อไปไม่ไหว ก็ได้ นั่นก็คือการทาให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงทาให้เชื่อได้ว่า มนุษย์ควรมีอิสระในการ ตัดสินใจของตนเองแม้ในการตายก็ตาม และควรมีกฎหมายรับรองถึงสิทธิการตาย[6] ประเภทของสิทธิในการตายแบ่งออกอย่างกว้างได้ 3 ประเภท 1. สิทธิในการปฏิเสธการรักษา (Right to refuse medical treatment) บุคคลมีสิทธิแสดงความจานง เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเองได้ โดยสาเหตุสาคัญที่ ทาให้ปัญหาความ ต้องการในการยุติชีวิตผู้ป่วยได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็เนื่องมาจาก เทคโนโลยีทางการแพทย์ ในปัจจุบันที่เข้ามามีบทบาทสูงใน การยื้อชีวิตผู้ป่วยออกไปในสภาพฝืนธรรมชาติ ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยคนนั้นไม่สามารถที่จะได้รับการบาบัดให้หายจากโรค หรืออาจกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติได้ ในบางครั้ง ผู้ป่วยต้องถูกพันธนาการไปด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ หรือการให้อาหารและน้าผ่าน ทางสายยาง ผู้คนจานวนหนึ่งคิดว่าการตายภายใต้เครื่องมือเหล่านี้ คือการตายโดยปราศจากศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ จึงได้มีการเรียกร้องให้ผู้ป่วย สามารถที่จะแสดงเจตนาให้แพทย์ถอดเครื่องมือเหล่านี้ออกจากตัว ผู้ป่วยได้ 2. การทาให้ผู้ป่วยตายอย่างสงบ หรือ การุณยฆาต ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Mercy Killing” หรือ “Euthanaia” ในภาษากรีกและอาจรวมถึงการฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือทางการแพทย์ด้วย หรือ “Assisted Suicide” (แพทย์ช่วยแต่ผู้ป่วยตายเอง) ในที่นี้ การุณยฆาต จึงหมายถึง การช่วยทาให้ผู้อื่นตายด้วย ความเมตตาสงสาร เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วย ต่างๆ ที่หมดหวังจะหาย วิธีการก็เช่น ฉีด ยาให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งตาย ให้พ้นจากความเจ็บปวด ปลดสายออกซิเจนให้ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตไม่รู้สึกตัวมา นานเพื่อให้ตายพ้นความทรมาน อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยบางรายถึงแม้ไม่ได้อยู่ภายใต้เครื่องมือทางการแพทย์ แต่ กลับต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะที่ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยเกินเยียวยา ในบางครั้งผู้ป่วยเหล่านี้มีความ ต้องการที่จะฆ่าตัวตาย แต่กลับไม่สามารถที่จะกระทาได้ด้วยตนเอง อันเนื่องมาจากความเจ็บป่วยหรือพิการ จึงมีการเรียกร้องให้แพทย์ทาการยุติชีวิตผู้ป่วยหรือให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านั้นในการฆ่าตัวตายได้ จะเห็น ได้ว่าสิทธิเช่นนี้เป็นสิทธิในทางเรียกร้อง (Positive Right)[4] ดังนั้น การกระทาต่างๆ ดังกล่าวอาจเกิดจาก ความคิดของผู้กระทาเอง หรืออาจเกิดจากการร้องขอของผู้ที่ได้รับความทุกข์ทรมานให้ผู้อื่นช่วยทาให้ตนตาย ก็เป็นได้ 3. หนังสือแสดงเจตนาในการรับบริการ หรือปฏิเสธการรับบริการทางการแพทย์ (Living Will) หมายถึง การแสดง เจตนารมณ์ หรือความประสงค์ของผู้ป่วยที่ได้เขียนแสดงเจตจานง ไว้ว่าจะให้มีการ รักษาพยาบาลตนในเวลาที่เจ็บหนัก ใกล้ตาย หรือไม่ให้มีการรักษาพยาบาลตนไม่ให้มีการรักษาพยาบาลตน ด้วยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่เกิดประโยชน์ หรือไม่สามารถฟื้นกลับคืนเป็นปกติ ทั้งกายใจได้ซึ่งได้แก่การที่บุคคลมีสิทธิกาหนดวิธีการรักษาพยาบาลและปฏิเสธการรักษาพยาบาล เพื่อเอาไว้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3