รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
31 สาหรับเหตุการณ์อันไม่แน่นอนในอนาคตได้เพื่อที่จะทาให้วาระสุดท้ายในชีวิตของตนเป็นไปอย่างสงบและมี ศักดิ์ศรีนั่นเอง การแสดงความจานงต่างๆ เช่นว่านี้สามารถทาได้ ด้วยหนังสือแสดงเจตจานงล่วงหน้าตาม เงื่อนไขที่กฎหมายกาหนดสภาขุนนางได้ให้การนิยาม การุณยฆาตไว้ว่า เป็น “การเข้าแทรกแซงโดยไตร่ตรองไว้ ก่อน โดยมีเจตนาอย่าง ชัดแจ้งเป็นการยุติชีวิตชีวิตหนึ่ง เพื่อระงับความทรมานที่ไม่อาจเยียวยาได้” ซึ่งใน ประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม การการุณยฆาตเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึง "การที่แพทย์ยุติชีวิตของผู้ป่วย ตามคาร้องขอของผู้ป่วย” แต่ในกฎหมายเอง ไม่ปรากฏการใช้คาว่า "การุณยฆาต" หากแต่รับแนวคิดเรื่องนี้ไว้ ภายใต้นิยามอย่างกว้าง ๆ ว่า หมายถึง "การสงเคราะห์ให้ฆ่าตัวตาย และการยุติชีวิตตามคาร้องขอ" แนวคิด การุณยฆาต หรือ Euthanasia มีข้อพิจารณา 3 ประการคือ 1. เมื่ออยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่ด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อให้มีลมหายใจ หรือไม่รับรู้ความเจ็บป่วยด้วยการใช้ยาระงับความเจ็บปวด ทรมาน 2. สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง แต่ต้องเป็นสิทธิที่ผู้เป็นเจ้าของชีวิตร้องขอภายใต้สภาวะที่พร้อมและ สมัครใจ สิทธินี้จะต้องไม่ถูกหยิบยื่นจากผู้อื่น 3. บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง การ ยืดชีวิตนี้ถือว่า เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะ “ฟื้นไม่ได้ ตายไม่ลง” หรือไม่ การการุณยฆาตมี รากฐานความคิดที่จะช่วยทาให้ผู้ป่วยหมดความรู้สึกอย่างรวดเร็วและเสียชีวิตโดยปราศจากความทุกข์ทรมาน แต่ต้องยอมรับว่าการการุณยฆาตถือเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนต่อจรรยาบรรณทาง การแพทย์และ ด้านกฎหมายมานานหลายทศวรรษในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์โทดอกและ ศาสนาอิสลามต่างพากันออกมาต่อต้านอย่างชัดเจน แต่ในบางประเทศก็มีกฎหมายรับรองให้ทาได้อย่างถูกต้อง โดยมีการแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับการการุณยฆาต ในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้ การจาแนกตามเจตนา 1. บุคคลนั้นเกิดอาการเจ็บป่วยอย่างสาหัสหรืออาจได้รับทุกขเวทนาจากความเจ็บป่วย เป็นเหตุให้ สามารถแสดงเจตนาให้บุคคลอื่นกระทาการการุณยฆาตแก่ตนได้ซึ่งในการนี้จะเรียกว่า การุณยฆาตด้วยสมัคร ใจ (Voluntary Euthanasia) 2. หากเป็นกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะที่จะแสดงเจตนาได้ เช่น มีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่ง หมายถึง ทายาทโดย ธรรม ผู้ใช้อานาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อภิบาล ตามกฎหมายไปจนถึงศาลก็อาจ พิจารณาใช้อานาจตัดสินใจให้ กระทาการุณยฆาตแก่บุคคลนั้นแทนได้ ซึ่งจะเรียกว่า การคุยฆาตโดยไม่เจตนา หรือ การการุณยฆาตโดยไม่สมัครใจ (Involuntary Euthanasia)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3