รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
32 การจาแนกตามวิธีการปฏิบัติ 1. การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) คือ การกระทาโดยการตัดการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้ ได้การยอมรับ มากที่สุดและเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง 2. การุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) คือ การกระทาโดยการกระทาโดยการให้สารหรือวัตถุ ใดๆ ที่เป็นการเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย เช่น การประหารชีวิตนักโทษ 3. การุยฆาตเชิงสงบ (Non-aggressive Euthanasia) คือ การกระทาโดยการหยุดให้ปัจจัยในการ ดารงชีวิตแก่ผู้ป่วย ซึ่งจากข้อมูลในพจนานุกรมกฎหมายของ เฮนรี แคมป์แบล แบล็ก (Henry Campbell Black's Law Dictionary) ยังได้จาแนกการการุณยฆาตไว้คล้ายคลึงกับสองประเภทที่ได้ กล่าวแล้วข้างต้น คือ 1. การุณยฆาตโดยตัดการรักษา (Negative Euthanasia) คือการปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเองซึ่งเป็นวิธี ที่ปฏิบัติกันทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุขบันทึกลงในข้อมูลการรักษาว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่ต้องให้การรักษาอีก ต่อไปและไม่ต้องช่วยยืดยื้อชีวิตในวาระสุดท้ายอีก 2. การุณยฆาตโดยเร่งให้ตาย (Positive Euthanasia) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ การุณฆาต โดยเจตจานงและโดยตรง (Voluntary and Direct Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยเลือกที่จะปลงชีวิตตนเอง อาทิ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขจัดยาในปริมาณที่เดินขนาดจนทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือวางยาที่เป็นพิษ ไว้ใกล้ๆตัวผู้ป่วย เพื่อให้ตัดสินใจหยิบกินเอง การการุณยฆาตโดยเจตจานงและโดยอ้อม ( Voluntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตัดสินใจเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่า หากหมดหนทางการรักษาก็ขอให้ผู้ ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขกระทาการการุณยฆาตแก่ตน โดยอาจจะแสดงความจานงเป็นหนังสือหรือเป็น พินัยกรรมชีวิตเอาไว้ก็ได้ การุณยฆาตโดยไร้เจตจานงและโดยอ้อม (Involuntary and Indirect Euthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยไม่ได้ร้องขอความตาย แต่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขสงเคราะห์ให้เพราะความสงสารใน วงการแพทย์ การการุณยฆาตถือเป็นเรื่องที่อ่อนไหวต่อความชอบธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ จิตสานึก และ กฎหมาย เหตุเพราะยังเป็นการยากที่จะทาให้ทุกฝ่ายมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยต้องการให้กระทาการการุณยฆาตแก่ ตนเอง จริงๆ โดยไม่มีประโยชน์อื่นใดแอบแฝง เช่นมรดก หรือเงินประกันชีวิตทางแพทยสมาคมโลกจึงได้จัดทา แนวทางปฏิบัติเรื่องนี้ในชื่อ ปฏิญญาแพทยสมาคมว่าด้วยการการุณยฆาต(World Medical Association Declaration on Euthanasia) โดยที่ความตอนหนึ่งระบุว่า การกระทาโดยตั้งใจที่จะทาลายชีวิตของผู้ป่วย ถึงแม้การกระทานี้จะเป็นการทาตามคาร้องของผู้ป่วยหรือญาติสนิทก็ตาม ถือว่าผิดหลักจริยธรรม ยกเว้นเป็น การดูแลของแพทย์ที่เคารพต่อความปรารถนาของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งประสงค์ที่จะเสียชีวิตตาม ธรรมชาติ ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับเรื่อง การการการุณยฆาต มีเพียงมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งอนุญาตให้ผู้ป่วยระยะท้ายปฏิเสธการรักษาที่ไม่ได้ประโยชน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3