รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

33 เท่านั้น การกระทาที่ถือเป็นการเร่งความตาย และเข้าข่ายมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จาคุก ตลอดชีวิตหรือจาคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และ หากเป็นการกระทาที่มีการไตร่ตรองไว้ก่อน ก็จะได้รับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 289 ดังนั้น หากแพทย์ทาให้ ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา อาทิเช่น การฉีดยา การให้กินยา เพื่อต้องการให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ แม้ว่าจะทา ลงไปเพราะความสงสาร ก็ยังถือว่ามี ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ซึ่งในทางตะวันตกนั้น ได้ให้แนวคิดสาหรับการกา รุณยฆาต[5] มีข้อพิจารณา 3 ประการ คือ 1. เมื่ออยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส 2. สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง 3. บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยึดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และไร้การรับรู้ทางสมอง หากพิจารณาจากเงื่อนไขดังกล่าว โดยแยกพิจารณาแต่ละกรณี ความคิดเห็นในกรณีแรกนั้น กรณีที่ บุคคลอยู่ ในภาวะที่เจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่ด้วยเครื่องมือและ อุปกรณ์ทางการ แพทย์ เพื่อให้มีลมหายใจ หรือไม่สามารถรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยการใช้ยาระงับความเจ็บปวด ทรมาน ข้อโต้แย้งก็คือ เราจะใช้เทคโนโลยีเอาชนะความเจ็บปวดทรมานได้มากน้อยเพียงไรและนานเพียงใด ภายใต้เงื่อนไขอะไรบ้าง เราจะแยกแยะระหว่างความเจ็บปวดทรมานที่บุคคลหนึ่งกาลังเผชิญอยู่และต้องการ หลุดพ้น โดยที่ไม่กดดันทางอารมณ์ หรือ อยู่ในภาวะซึมเศร้า ทุกครั้งที่ลืมตาตื่นขึ้นมาพบสภาพที่เจ็บปวด ทรมานและเลือกที่จะตายในแต่ละวันกับความเห็นทางการแพทย์ที่วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นๆยังมีโอกาสที่จะ เยียวยาและมีชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่งได้อย่างไร ความคิดเห็นในกรณีที่สองนั้น กรณีบุคคลควรมีสิทธิที่จะยุติชีวิตในสภาวะที่พร้อมและสมัครใจ ต่อ กรณีนี้ “สิทธิที่จะตาย” ต้องไม่ถูกหยิบยื่นให้กับผู้อื่น นอกจากผู้ที่เป็นเจ้าของชีวิตจะร้องขอเท่านั้น เงื่อนไขนี้ จะมี ช่องว่าง ทันทีหากผู้ที่หยิบยื่นความตายให้บุคคลอื่นใช้ดุลยพินิจส่วนตัวตัดสินว่า บุคคลนั้นๆ หมดหนทาง ที่จะ เยียวยาได้จาก สภาพทนทุกข์ทรมาน เพราะเป็นการล่อแหลมต่อการใช้ “การุณยฆาต” ฟุ่มเฟือยเกินไป ในความคิดเห็นกรณีที่สาม ผู้ป่วยไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และ ไร้การรับรู้ทางสมอง การยืดชีวิตไว้ถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วยหรือไม่ เราจะมีทางเลือกอย่างไรบ้าง สาหรับผู้ป่วย ที่อยู่ในสภาวะ “ฟื้นไม่ได้ ตายไม่ลง” จะถือว่าเป็นการยึดชีวิตโดยที่ผู้ป่วยไม่ปรารถนา จะทนกับ ภาวะทรมานนั้นอีก ต่อไปหรือไม่ (ทั้งที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน และไร้การรับรู้) ทางออกที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ การให้สิทธิผู้ป่วยวาระ สุดท้าย อยู่ในสภาพที่พร้อมตายอย่างมีศักดิ์ศรี สงบ และมีสติ โดยมีคนรัก รอบข้าง ที่ยอมรับการจากไปอย่างมีสติและ เห็นความตายเป็นธรรมชาติ แนวคิดในซีกวัฒนธรรมตะวันตกเช่นนี้ เป็น ที่มาของการจัดหาสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะ สุดท้าย (hospice หรือ in-home hospice) ให้เตรียมตัวตาย อย่างมีศักดิ์ศรี และตายอย่างมีสติ ปราศจากการยึดชีวิต ไว้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ[6]

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3