รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
528 สาม ได้แก่ ภาคกลาง ส่วนกลาง ช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาท่องเที่ยว คือ ช่วงเข้าสู่ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ปัจจัยที่มีความสาคัญต่อการเลือกประเทศเพื่อการท่องเที่ยวของชาวญี่ปุ่นคือ ภาพลักษณ์ของประเทศและผู้คน อีกปัจจัยหนึ่งที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสาคัญเป็นอันดับสอง คือ ช็อปปิ้ง ดังนั้นใน การให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศไทยให้กับนักท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น จึงควรที่จะมุ่งเน้นไปในด้านของภาพลักษณ์ ของประเทศและผู้คนเป็นอันดับแรก และควรให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับราคา จุดท่องเที่ยวและแหล่งช็อปปิ้ง เป็นอันดับสอง (ชวัลนุช อุทยาน, 2551) ปัจจุบันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยล้วนทาให้พฤติกรรม ท่องเที่ยวของผู้คนเปลี่ยนไป โดยปกติสถานที่ที่เราไปเที่ยวมักมีความปลอดภัยดีอยู่แล้ว แต่การระบาดของโค วิด-19 ทาให้ เวลาจะไปเที่ยว นักท่องเที่ยวมักคานึงถึงความปลอดภัยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับภาวะ เศรษฐกิจที่ถดถอย ทาให้พฤติกรรมในการท่องเที่ยวของผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งน่าจะได้เห็นพฤติกรรม การท่องเที่ยวแบบนี้จนกว่า วัคซีนจะถูกค้นพบ และผู้คนส่วนใหญ่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว (Krungthai.com, 2564) จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทาให้เกิดคาถามการวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาว ญี่ปุ่นในปัจจุบันว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้วิจัยจึงมีความสนใจ ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวญี่ปุ่นภายหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อนาข้อมูลที่ได้มาใช้เป็น ประโยชน์และเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น การทบทวนวรรณกรรมและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 1. ความหมายแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยว ในส่วนนี้ผู้วิจัยกล่าวถึง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว องค์ประกอบของพฤติกรรม รูปแบบพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยสาคัญ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม นักท่องเที่ยว ความหมายพฤติกรรมนักท่องเที่ยว สุวีร์ณัสญ์ โสภณศิริ (2554) ให้ความหมายพฤติกรรมนักท่องเที่ยวว่า เป็นการกระทาทุกอย่างของ นักท่องเที่ยวไม่ว่าการกระทานั้นนักท่องเที่ยวจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว และบุคคลอื่นจะสังเกตการณ์กระทานั้นได้ หรือไม่ก็ตาม เพื่อมุ่งตอบสนองสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งโดยพฤติกรรมภายนอกของ นักท่องเที่ยว (Tourist’s Overt Behaviour) เป็นพฤติกรรมที่ผู้อื่นสังเกตได้โดยการอาศัยประสาทสัมผัส ส่วน พฤติกรรมภายในของนักท่องเที่ยว (Tourist’s Covert Behaviour) เป็นการทางานของอวัยวะต่าง ๆ ที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3