รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

3 เพศสภาพเป็นหญิงแต่มีรสนิยมทางเพศชอบผู้หญิง จึงทาให้การแสดงออกตรงข้ามกับเพศที่เป็นอยู่ [1] โดยบุคคลที่ มีความหลากหลายทางเพศนี้ก็เป็นมนุษย์เหมือนบุคคลทั่ว ๆ ไปจะแตกต่างกันเพียงแค่จิตใจและความชอบทางเพศ เท่านั้น เมื่อกล่าวถึงชายหรือหญิงที่แสดงความรักหรือความต้องการทางเพศที่แตกต่างจากเพศสภาพโดยแสดง ความรักหรือความพึงพอใจต่อบุคคลที่มีเพศเดียวกัน การบัญญัติกฎหมายต้องมีการตระหนักถึงความเท่าเทียมกัน เพื่อรับรองสิทธิอันชอบธรรมต่างๆ ให้แก่บุคคลทุกคน เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางกฎหมายในสังคม ในปัจจุบัน ได้มีหลายประเทศที่มีการรับรองสถานะทางกฎหมายให้แก่ชายหรือหญิงที่มีรูปแบบของความรัก ตามความ ต้องการของตน โดยที่ไม่ได้ให้ความสาคัญในเพศกาเนิดของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความรักในรูปแบบชายหญิง ชาย ชาย หรือ หญิงหญิง โดยรัฐในหลายประเทศได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตคู่ ร่วมกันของบุคคลเหล่านี้ เพื่อสร้างความเสมอภาคและตอบสนองความต้องการในการดาเนินชีวิตให้แก่บุคคลในทุก รูปแบบของความรัก ซึ่งโดยหลักของกฎหมายทั่วไปแล้วการรับรองสถานะการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเป็นการรับรอง เฉพาะในรูปแบบของความรักระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่มี ความรักแตกต่างจากความรักของบุคคลทั่วไปที่สังคมให้การยอมรับ ถูกสังคมปฏิเสธและมองความรักของกลุ่มคน หลากหลายทางเพศหรือคู่รักเพศเดียวกันนั้นเป็นการขัดต่อเพศกาเนิด เป็นสิ่งที่ผิดปกติและสังคม ไม่ควรให้การ ยอมรับ [2] ด้วยเหตุนี้จึงทาให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินชีวิตในสังคมของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านแนวคิดอย่างกว้างขวางต่อรูปแบบของการรับรอง สถานะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน โดยหลายประเทศได้ให้การยอมรับการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของคู่รักเพศเดียวกันเช่นเดียวกับ คู่รักต่างเพศ ด้วยการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร รูปแบบของกฎหมายที่ให้การรับรองสถานะใช้ชีวิตคู่ ร่วมกันของแต่ละประเทศนั้นมีความแตกต่างกัน โดยมีรูปแบบในการรับรองสถานะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันทั้งหมด 3 รูปแบบด้วยกัน รูปแบบที่ 1 การรับรองในรูปแบบของการจดทะเบียนสมรสในลักษณะเช่นเดียวกันกับที่รับรองการ สมรสระหว่างคู่รักต่างเพศ และมีทะเบียนสมรสเหมือนกับคู่รักต่างเพศ รูปแบบที่ 2 การรับรองการใช้ชีวิตคู่ของ คู่รักเพศเดียวกันในลักษณะของการออกกฎหมายแยกต่างหากจากหลักในการสมรส กล่าวคือ รัฐให้สิทธิในการจด ทะเบียนในลักษณะของหุ้นส่วนชีวิตโดยได้รับสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแต่อาจจะยังไม่เท่าคู่รักต่างเพศที่จด ทะเบียนสมรส หรือบางประเทศอาจเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศที่ได้จดทะเบียนสมรส รูปแบบที่ 3 การรับรองการใช้ ชีวิตคู่ของคู่รักเพศเดียวกันในลักษณะของการที่รัฐรับรองให้โดยปริยายจากการดา เนินชีวิตคู่ร่วมกันมาเป็นช่วง ระยะเวลาหนึ่ง หรือ Cohabitation [3] สาหรับประเทศไทยมีการบัญญัติกฎหมายในการรับรองสถานะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของคู่รักเพศเดียวกันนั้น ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มคนหลากหลายทางเพศได้พยายามต่อสู้เพื่อให้องค์กรภาครัฐให้การยอมรับ และรับรองสิทธิเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในทางกฎหมาย จนในที่สุดก็สาเร็จและนาไปสู่กระแสสังคมที่ให้การ ยอมรับ จึงนาไปสู่การเรียกร้องให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติกฎหมายเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน จนเกิด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3