รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2

9 3. การประเมินเชิงสัมพันธ์ (Relational Assessment) เป้าหมายของระยะนี้ คือ การระบุรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัว มุ่งเน้นไปที่การชักชวน และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเชิงสัมพันธ์ และประเมินแต่ละครอบครัวโดยใช้การรับรู้และ ความเข้าใจในกระบวนการสัมพันธ์ 4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavior Change) เป้าหมายของระยะนี้ คือ การลดหรือขจัดปัญหาโดยการปรับปรุงการทางานของครอบครัวและการ พัฒนาทักษะส่วนบุคคล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมักจะรวมถึงกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็น ทางการที่กล่าวถึงกระบวนการในครอบครัวที่เกี่ยวข้อง ทักษะส่วนบุคคล หรือขอบเขตทางคลินิกโดยเฉพาะ เช่น ภาวะซึมเศร้า การละทิ้งหน้าที่ การใช้สารเสพติด ทักษะต่างๆ เช่น การจัดโครงสร้าง การสอน การจัด ระเบียบ และการทาความเข้าใจการประเมินพฤติกรรมเป็นสิ่งจาเป็น นักบาบัดมุ่งเน้นไปที่การฝึกอบรมการ ทางการสื่อสาร การใช้ความช่วยเหลือทางเทคนิค การมอบหมายงาน และการฝึกอบรมเพื่อแก้ไขข้อ ขัดแย้ง เทคนิคการเรียนรู้และพฤติกรรมตามหลักฐานเพื่อจัดการกับปัญหาการทางานของครอบครัวและ มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมในการสร้างแบบจาลองและกระตุ้นพฤติกรรมเชิงบวก โดยให้คาสั่งและข้อมูล 5. ขั้นตอนทั่วไป (Generalization Phase) เป้าหมายหลักในระยะนี้ คือ การขยายการปรับปรุงที่ทาขึ้นระหว่างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมใน หลาย ๆ ด้านและเพื่อวางแผนสาหรับความท้าทายในอนาคต การวางแผนสาหรับการป้องกันการกระทา ความผิดซ้า และการรวมระบบชุมชนเข้ากับกระบวนการบาบัดรักษา ผลการวิจัย 1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ได้ทราบถึงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว การขัดเกลาทาง สังคม สาเหตุของการกระทาความผิดของเด็กและเยาวชน การควบคุมทางสังคม การแก้ไขฟื้นฟู และกิจกรรม ครอบครัวบาบัด รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า ได้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กิจกรรมครอบครัวบาบัด ของประเทศไทย 3. วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า ได้แนวทางในการพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมครอบครัว บาบัด เพื่อนาไปสู่การลดการกระทาความผิดซ้าของเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3