รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
10 บทสรุป และข้อเสนอแนะ สรุป ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า การกระทาความผิดของเด็กและเยาวชนในสังคมตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเป็นสิ่งที่กลายมาเป็นปัญหาที่ประเทศไทยกาลังเผชิญมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ในปัจจุบันจะมี แนวโน้มของการกระทาความผิดที่ลดลงซึ่งถือว่าเป็นไปในทิศทางที่ดี แต่ก็ยังถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการดาเนินการสาหรับเด็กและเยาวชนที่เข้มงวดมากขึ้น ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า กระบวนการทางกฎหมายของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็น กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ หรือการดาเนินการต่าง ๆ สาหรับเด็ก อันเป็นการบาบัด แก้ไข ฟื้นฟู และ ยังมุ่งให้โอกาสต่อตัวเด็กและเยาวชนซึ่งกระทาความผิดนั้นได้กลับตัวกลับใจอยู่เช่นเดิม ผลจากการวิจัยวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า ประเทศไทยยังไม่มีกระบวนการหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ สามารถแก้ปัญหาอันเป็นสาเหตุของการกระทาความผิดซ้าของเด็กและเยาวชนได้อย่างตรงจุดและมี ประสิทธิภาพ จนส่งผลให้เด็กและเยาวชนนั้นรู้สึกผิดต่อสิ่งที่ตนกระทาอย่างแท้จริง และไม่กลับไปกระทา ความผิดซ้าอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการกระทาความผิดในฐานเดิม หรือความผิดในฐานอื่น ๆ กิจกรรมครอบครัว บาบัดจึงเป็นส่วนสาคัญที่ควรนามาใช้ในการแก้ปัญหาการกระทาความผิดซ้าของเด็กและเยาวชน ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย การป้องกันกระทาความผิดซ้าของเด็กและเยาวชน พบว่ายังคงมีการใช้มาตรการ พิเศษแทนการดาเนินกระบวนการยุติธรรม และยังคงมุ่งให้โอกาสเด็กและเยาวชนซึ่งกระทาความผิดซ้า ให้ ได้รับการบาบัดแก้ไข ไม่ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นจะกระทาความผิดซ้ามากี่ครั้งก็ตาม ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกัน การกระทาความผิดซ้าของเด็กและเยาวชนจึงควรแก้ปัญหาจากจุดเริ่มต้นของการกระทาความผิดของเด็กและ เยาวชน คือ ครอบครัวหรือสังคมรอบข้าง โดยการนากิจกรรมครอบครัวบาบัด (Function Family therapy) เข้ามาในกระบวนการยุติธรรม โดยเน้นไปที่ครอบครัวเป็นหลัก และเป็นกระบวนการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ สาหรับเด็กและเยาวชนที่มีความเสี่ยงและครอบครัวของเด็กและเยาวชนนั้นด้วย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. กิจกรรมครอบครัวบาบัดที่ประเทศไทยควรนามาปรับใช้ ต้องถือหลักเกณฑ์อายุของเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 คือ - เด็ก บุคคลตั้งแต่อายุ 12 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ - เยาวชน บุคคลตั้งแต่อายุ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ 2. การปฏิบัติกิจกรรมครอบครัวบาบัดต่อเด็กและเยาวชนรวมทั้งครอบครัวของเด็กและเยาวชนนั้น ควร ใช้ระยะเวลาในการแก้ไขบาบัดฟื้นฟูจานวน 12 ถึง 14 ครั้ง ใช้ระยะเวลาปฏิบัติ 3 ถึง 5 เดือน และสามารถ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3