รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
15 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ดังบัญญัติหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 3 ซึ่งถือว่า ใช้บังคับในฐานะที่เป็น กฎหมายมาตรฐานกลาง ในกรณีที่เรื่องทางปกครองเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ก่าหนดกระบวนการหรือขึ้นตอนไว้ เป็นการเฉพาะ และใช้กับหน่วยงานของรัฐที่ด่าเนินการเรื่องในทางปกครองโดยเฉพาะกระบวนการที่จะน่าไปสู่ การมี “ค่าสั่งทางปกครอง” ซึ่งการตรวจสอบวินัยนิสิตให้มีความถูกต้องและเป็นธรรม จึงต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับ ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ. 2558 นั้นไม่ได้มีในเรื่องของการแจ้งสิทธิในการ มีทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วมในการสอบสวนวินัยนิสิต ไม่ได้มีเรื่องของการก่าหนดหลักการมีส่วนได้เสีย ว่าใครสามารถเป็นกรรมการในการท่าการสอบสวนวินัยนิสิตได้บ้าง ไม่ได้มีเรื่องการแจ้งข้อกล่าวหาให้นิสิตได้ ทราบอย่างเพียงพอ และ ไม่ได้มีการเปิดโอกาสให้นิสิตได้ท่าการโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานอย่างเต็มที่ เหล่านี้ เมื่อเทียบกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้มีการบัญญัติเรื่องเหล่านี้ไว้ในมาตรา 13 มาตรา 23 และ มาตรา 30 จึงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ. 2558 ในเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ต่่ากว่า หลักเกณฑ์ที่ก่าหนดใน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษา แนวทางการแก้ไข เพื่อเสนอรูปแบบกระบวนการลงโทษทางวินัยนิสิตที่มี ความเหมาะสมเพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่่ากว่า หลักเกณฑ์ที่ก่าหนดไว้ใน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ขอบเขตการวิจัย ในการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษากระบวนการวินัยนิสิตที่เหมาะสมในมหาวิทยาลัยทักษิณหรือที่ เรียกว่า ศาลนิสิต ซึ่งมีข้อบังคับและข้อกฎหมายที่น่ามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2558 หมวด 4 การสอบสวนและการลงโทษ (ข้อ 13 14 16) 2. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (มาตรา 3 5 13 23 24 30) โดยมีพื้นที่ ที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ คือ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา แนวคิดทฤษฎี หลักการกกระทาโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอานาจหน้าที่ ในการจัดท่าค่าสั่งทางปกครองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องจัดท่าโดยเจ้าหน้าที่ที่มีอ่านาจหน้าที่ในเรื่องนั้น ซึ่งค่าว่า "เจ้าหน้าที่" หมายถึง บุคคล คณะบุคคล หรือ นิติบุคคล ซึ่งใช้อ่านาจหรือได้รับมอบให้ใช้อ่านาจทางปกครองของรัฐในการต่าเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม กฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม จากนิยาม ศัพท์ค่าว่า "เจ้าหน้าที่" จะเห็นได้ว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะครอบคลุมการใช้อ่านาจของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายอย่าง กว้างขวาง ซึ่งรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบให้ใช้อ่านาจทางปกครองของรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3