รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
18 หนึ่งตามกฎหมาย แต่องค์กรเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็อาจมอบหมาย ให้เอกชนกระท่าการแทนในนามของรัฐได้ ซึ่งการกระท่าของเอกชนที่ได้รับมอบอ่านาจ ดังกล่าว จากรัฐนี้ก็ถือเป็นค่าสั่งทางปกครอง ทฤษฎีความมีระเบียบวินัยและความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวินัย ความมีระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่สังคมพึงปรารถนาและควรปลูกฝังแก่เยาวชน เมื่อคนในสังคมมีระเบียบ วินัยสังคมก็ย่อมมีความสงบสุข วินัย หมายถึง ระเบียบกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ส่าหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนใน สังคมให้เรียบร้อยดีงาม เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกันจะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบายไม่กระทบกระทั่ง กันและกัน กระบวนการดาเนินการทางวินัยมีขั้นตอนต่างๆ ประกอบด้วย การสอบสวน การพิจารณา การ ลงโทษ การตรวจสอบการลงโทษ การอุทธรณ์และการเปลี่ยนแปลงการลงโทษ การสอบสวน เป็นกระบวนการบังคับก่อนพิจารณาลงโทษในความผิดวินัย เพื่อให้ได้ความจริง และ ยุติธรรม กับเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการด่ารงสถานภาพ โดยถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระท่าผิดวินัย อย่างไม่ร้ายแรงให้ด่าเนินการ ตามวิธีการที่ผู้บังคับบัญชาเห็นสมควร ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระท่าผิดวินัยอย่าง ร้ายแรง ให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นท่าการสอบสวน และในการสอบสวนจะต้องแจ้งข้อกล่าวหา และสรุป พยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและน่าสืบแก้ข้อ กล่าวหาส่วนความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งไม่บังคับให้ต้องสอบสวน จะสอบสวนก็ได้ไม่สอบสวนก็ได้ การพิจารณา จะต้องกระท่าทุกกรณีก่อนลงโทษทางวินัย เพื่อให้การลงโทษเป็นไปโดยถูกต้องและ เหมาะสม แต่วิธีการพิจารณาแตกต่างกันระหว่างความผิดวินัยอย่างร้ายแรงกับความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง คือ ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง พิจารณาโดยองค์กรบริหารงานบุคคล ส่วนความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงพิจารณาโดย ผู้บังคับบัญชา การลงโทษ เมื่อปรากฏจากการพิจารณาว่านิสิตการกระท่าผิดวินัย จึงลงโทษ การตรวจสอบการลงโทษ เป็นกระบวนการควบคุมดูแลอีกขั้นหนึ่งให้การลงโทษเป็นไปโดยถูกต้องและ เหมาะสม มีการตรวจสอบ ๒ ระดับ คือ ตรวจสอบโดย ผู้บังคับบัญชาตามล่าดับ กับตรวจสอบโดยองค์กรกลาง บริหารงานบุคคล หากตรวจสอบพบว่าการลงโทษไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม ก็จะสั่งการให้มีการเปลี่ยนแปลง ค่าสั่ง ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมต่อไป การอุทธรณ์ค่าสั่งลงโทษ เป็นกระบวนการเพื่อให้หลักประกัน แก่ผู้ถูกลงโทษ ที่จะได้มีโอกาสและหนทางแสวงหาความยุติธรรมได้อีกขั้นหนึ่ง ซึ่งถ้าอุทธรณ์ฟังขึ้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าสั่ง ให้เป็นคุณแก่ผู้นั้นต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัย ก) ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3