รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2

20 ระเบียบวิธีการดาเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเน้นวิธีการด่าเนินการวิจัย เอกสาร (Documentary Research) ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการ ประชุม เว็บไซต์ และบทบัญญัติแห่งกฎหมายทางปกครองด้านพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ผลการวิจัย จากวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิของคู่กรณี และหลักการการตรวจสอบ ใช้อ่านาจของ/เจ้าหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบพิจารณาลงโทษทางวินัยนิสิต ในมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อ เป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการ ไม่ต่่ากว่าหลักเกณฑ์ที่ก่าหนดใน พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายมาตรฐานกลาง ในกรณีที่เรื่องทางปกครองเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ได้ก่าหนดกระบวนการหรือขึ้นตอนไว้เป็นการเฉพาะ และใช้กับหน่วยงานของรัฐที่ด่าเนินการเรื่องในทาง ปกครองโดยเฉพาะกระบวนการที่จะน่าไปสู่การมี “ค่าสั่งทางปกครอง” เมื่อมหาวิทยาลัยทักษิณซึ่งเป็น หน่วยงานทางปกครอง ที่จัดท่าบริการสาธารณะด้านการศึกษา ดังนั้นการออกกฎข้อบังคับต่างๆที่ใช้บังคับ จึง ต้องให้เป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่่ากว่าหลักเกณฑ์ที่ ก่าหนดตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ตามบทบัญญัติมาตรา 3 ซึ่งเป็นแม่บท กฎหมายหลักด้วย ซึ่งการการวิจัยเรื่อง รูปแบบการสอบสวนวินัยนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณที่เหมาะสม ศึกษา เปรียบเทียบ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พบว่า 1. กรณีการแจ้งสิทธิในการมีทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วมในการสอบสวนวินัยนิสิต เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 23 ได้ก่าหนดให้ คู่กรณีมีสิทธิน่าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้ ซึ่งข้อบังคับ มหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยวินัยนิสิต พ.ศ.2558 ข้อ 14 กลับให้สิทธิเพียงแค่นิสิตผู้ถูกกล่าวหาว่ากระท่าผิดวินัย มีสิทธิน่าพยานหลักฐาน ทั้งพยานบุคคลและพยาน เอกสารมาเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา โดยมิได้มี การให้สิทธิแก่นิสิตผู้ถูกกล่าวหาว่ากระท่าความผิดหรือคู่กรณี น่าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในการ พิจารณาการกระท่าความผิดวินัยนิสิตแต่อย่างไร 2. กรณีการกาหนดหลักการมีส่วนได้เสียว่าใครสามารถเป็นกรรมการในการทาการสอบสวนวินัย นิสิตได้บ้าง เมื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 ได้ก่าหนด เรื่องของบุคคลที่ต้องห้ามมิให้ท่าการพิจารณาทางปกครองเอาไว้ว่า เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะท่าการพิจารณาทาง ปกครองไม่ได้ คือ (1) เป็นคู่กรณีเอง (2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็น บุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3