รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
33 หากจะกล่าวถึงเด็กและเยาวชนผู้ที่มีความอ่อนด้อยทั้งในด้านประสบการณ์ รวมไปถึงจิตสานึกและ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีแล้ว ในความเป็นจริงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกครอบงาทางความคิดจากบุคคลอื่น โดยสิ่งที่เด็ก และเยาวชนได้กระทาลงไปนั้นอาจปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ ชั่วดี ขาดจิตสานึก หรือขาดความตระหนักรู้ ที่ ไม่อาจเทียบเท่ากับการกระทาของผู้ใหญ่ โดยสาเหตุสาคัญของการกระทาความผิดของเด็กและเยาวชนคือการถูก ชักชวนหรือจูงใจในหมู่เพื่อน และการตกอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวที่เอื้อต่อการกระทาความผิด รวมทั้งอยู่ใน ครอบครัวที่ขาดความรักความอบอุ่น ขาดการดูแลเอาใจใส่ จนเด็กและเยาวชนหันไปกระทาความผิด สาเหตุต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงสาเหตุที่มักพบเจอได้ทั่วไป ซึ่งในความเป็นจริงยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อยู่ภายในตัวเด็กและ เยาวชนอีก เช่น การไม่ได้คิดวิเคราะห์และมีจิตสานึกก่อนกระทาการต่าง ๆ เป็นต้น กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็ก และเยาวชนที่กระทาความผิด (Juvenile Justice) เป็น กระบวนการดาเนินคดีรูปแบบเฉพาะสาหรับเด็กหรือเยาวชนที่กระทาความผิด ในอดีตการดาเนินคดีอาญากับเด็ก และเยาวชนที่กระทาความผิดจะมีลักษณะที่คล้ายกันกับการดาเนินคดีอาญาของผู้ใหญ่ ต่อมาเมื่อเห็นว่าการกระทา ความผิดของเด็กและเยาวชนนั้นไม่ได้เกิดจากเจตนาหรือไม่ได้เกิดจากความชั่วร้ายโดยตรงของเด็ก จึงมีแนวความคิด ถึงการให้โอกาสกลับตัวแก้ไขและกลับเข้าสู่สังคมปกติ ด้วยเหตุนี้ กฎหมายที่ทาหน้าที่ในการกาหนดกรอบกติกา กลางจึงจาเป็นต้องมีขั้นตอนการดาเนินการให้โอกาสและคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิด ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการกาหนดอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดี ในบางกรณี เช่น การกระทาความผิดซ้าหรือการกระทาความผิดร้ายแรง การมีมาตรการต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะนั้นก็ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้อย่าง เหมาะสม อีกทั้งแนวคิดของการให้โอกาสกลับตัวอาจแปรเปลี่ยนเป็นการให้โอกาสการกระทาความผิดกับเด็กและ เยาวชนอีกครั้ง อันจะสร้างความไม่ปลอดภัยให้กับสังคมส่วนรวมได้ ด้วยเหตุนี้ คณะผู้วิจัยจึงเห็นว่าควรศึกษา มาตรการทางเลือกสาหรับเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิดร้ายแรงหรือการกระทาความผิดซ้าเพื่อใช้เป็น ทางเลือกสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายได้นามาใช้ให้เหมาะสมกับกรณีที่เกิดขึ้นต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการกระทาความผิดร้ายแรงและการกระทาความผิดซ้าของเด็กและ เยาวชน การแก้ไขฟื้นฟู และกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชน 2. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการดาเนินการกับเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิด ร้ายแรงและการกระทาความผิดซ้าในประเทศไทย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3