รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2

670 ข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานปลอมหรือฉ้อโกงเพื่อหลบเลี่ยงหรือพยายามเลี่ยงการเสียภาษีโดยจะมี โทษจาคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท ตามมาตรา 37 แต่หากเป็นกรณี ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด 90, 91 หรือ 94 ภายในกาหนดแต่ชาระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจาทั้งปรับ ตามมาตรา 37 ทวิ (ประมวลรัษฎากร) และบทลงโทษทางแพ่งตามมาตรา 27 แห่งประมวล รัษฎากร กาหนดว่าถ้าบุคคลใดไม่เสียหรือนาส่งภาษีภายในเวลาที่กาหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อ เดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย หรือนาส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าบทลงโทษดังกล่าวไม่ทาให้ผู้ประกอบการเกรงกลัวเนื่องจาก ความผิดแต่ละกรณีมีโทษที่ไม่หนัก ส่งผลให้โทษที่ผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้รับโทษปรับใน จานวนที่น้อยและมีโทษจาคุกในระยะเวลาสั้น ๆ แต่โทษดังกล่าวก็ไม่ทาให้ผู้ประกอบการตระหนักที่จะปฏิบัติ หน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงควรปรับบทลงโทษให้หนักขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการเกรงกลัว กล่าวคือ จากเดิม สาหรับบทลงโทษทางอาญาที่กาหนดให้ผู้ประกอบการที่ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จดทะเบียนพาณิชย์ เป็นโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และให้ปรับเพิ่มอีกวันละ 1,000 บาท จนกว่าผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะจดทะเบียนพาณิชย์ให้ ถูกต้องตามกฎหมาย และในกรณีแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานปลอมหรือฉ้อโกงเพื่อหลบเลี่ยงการ เสียภาษีจากที่มีโทษจาคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท เพิ่มบทลงโทษ เป็น จาคุกตั้งแต่ 7 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท เพื่อให้ผู้ประกอบการตื่นกลัว ในโทษมากขึ้น เนื่องจากถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องได้รับโทษที่สูงขึ้นและยังเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาให้ จานวนผู้ประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นด้วย 2. แนวทางการป้องกันในการหลบเลี่ยงการเสียภาษีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากการศึกษาค้นคว้าช่องทางการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า การที่ ผู้เสียภาษีจะหลบเลี่ยงการเสียภาษีนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามาตรการในการตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบมากน้อยเพียงใด หากประสิทธิภาพในการตรวจสอบการ เสียภาษีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพและสามารถทาการตรวจสอบได้ทั่วถึง จะทาให้ ผู้ประกอบการไม่มีแนวคิดหรือเกิดความเกรงกลัวที่จะหลบเลี่ยงการเสียภาษี ดังนั้น หากภาครัฐมีมาตรการใน การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือ รัฐอาจหามาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจประชาชนที่เป็นผู้บริโภคสินค้า หรือผู้รับบริการหันมาร่วมมือกับรัฐในการเก็บภาษีไปด้วย เช่น เมื่อผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการทุกครั้ง ก็ เรียกร้องให้จัดทาใบกากับภาษี หรือรับมอบใบกากับภาษีทุกครั้งแล้วรวบรวมใบกากับภาษีเพื่อนามาขอรับภาษี คืนจากรัฐบาลได้อาจจะเป็น 2 เปอร์เซ็นต์หรือ 3 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่สภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆซึ่งหากใครช่วย รัฐก็อาจมอบรางวัลคนทาดีแทนที่จะมุ่งไปยังประเด็นของบทลงโทษเพียงอย่างเดียว ก็จะช่วยลดการหลบเลี่ยง ภาษีแต่หากมาตรการในการตรวจสอบมีประสิทธิภาพต่า ก็ย่อมมีผู้ที่คิดจะหลบเลี่ยงการเสียภาษี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3