รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
671 สรุปและอภิปรายผล ผลจากการวิจัยพบว่า เมื่อระบบการจัดเก็บภาษีไร้ซึ่งประสิทธิภาพย่อมก่อให้เกิดการบิดเบือนต่อการ ตัดสินใจในการทากิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้เสียภาษีทาให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นจานวน มากไม่ได้เข้าสู่ระบบการจัดเก็บภาษี สร้างความไม่เท่าเทียมกันให้กับประชาชน ซึ่งจะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยยังมี ช่องว่างทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษี สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี การจัดเก็บภาษีที่ดีของ อดัม สมิธ โดยจะเห็นได้ว่ามีผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จานวนมากมีการหลบ เลี่ยงภาษีซึ่งเกิดจากปัจจัยที่สาคัญหลายประการ เช่น มีช่องทางที่ง่ายต่อการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอาจกระทาด้วยวิธีการปลอมแปลง อาพรางตัวตน หรือใช้บัญชีของบุคคลที่สามใน การประกอบธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือมีช่องทางในการรับชาระเงินหรือปกปิดตัวตนที่แท้จริงในการ ขายสินค้า ทาให้ยากต่อการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ในการการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บางประการมีความ ยุ่งยาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการจัดเก็บภาษีที่ดีของอดัม สมิธ ที่กาหนดว่าหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย จะต้องอานวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี อีกทั้งในปัจจุบันมาตรการตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เข้มงวดจึงส่งผลให้เกิดการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างต่อเนื่อง สร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้ที่มีรายได้และเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง กาหนดมาตรการหรือแนวทางในการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ประการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงเสนอมาตรการในการตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ประกอบการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 1. ควรเร่งประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... เพื่อช่วยลด การปลอมแปลง อาพรางตัวหรือแฝงใช้ชื่อบุคคลที่สามในการทาธุรกรรม ซึ่งจะทาให้เกิดการจัดเก็บภาษีได้ อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 2. ควรยกเว้นข้อกาหนดบางประการให้แก่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ให้ผู้ประกอบการ ทุกรายไม่ว่ามีสานักงาน สาขา หรือไม่มีสานักงาน สาขา สามารถจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายขายสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในรูปแบบไม่ส ต๊อกสินค้า กล่าวคือ เป็นนายหน้าในการขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการรายอื่น จึงควรยกเว้นให้ผู้ประกอบการที่ เป็นนายหน้าในการขายสินค้าสามารถจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ แม้ไม่มีที่ตั้ง สานักงานแห่งใหญ่ สาขา โรงเก็บสินค้า ตามมาตรา 12 (5) แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบข้อมูลของภาครัฐมากยิ่งขึ้น 3. กาหนดบทลงโทษที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการเกรงกลัวในการหลบเลี่ยงภาษี เช่น จากเดิม พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 มาตรา 19 กาหนดว่าหากผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ จดทะเบียน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3