รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2

675 รัฐมอบหมายให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบหลักของตารวจ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นภารกิจของตารวจเป็นงานให้บริการของ รัฐนั่นเอง ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของตารวจ คือ การปฏิบัติงานการให้บริการที่มีคุณภาพสูงเป็นที่พึงพอใจของ ประชาชน และประชาชนรู้สึกอบอุ่นใจในการดารงชีวิตประจาวัน ในปัจจุบันรูปแบบสังคมได้มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว การปฏิบัติงานของตารวจจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์และผู้รับบริการ การปฏิบัติงานทุกด้านของตารวจจึงต้องคานึงถึงผลประโยชน์ที่จะให้แก่ประชาชนเป็นหลัก โดยเฉพาะการให้บริการ ของสถานีตารวจที่ถือเป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ปัจจุบันด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ในทุกด้านไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม เพราะมนุษย์ทุกคนย่อมต้องแสวงหาการเอาตัวรอด จึงก่อให้เกิดเป็นที่มา ของปัญหาในการก่อคดี คดี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทาร้ายร่างกาย มั่วสุมเสพยาเสพติด เป็นต้น ด้วยรูปแบบของการกระทาความผิดที่มีอย่าง หลากหลาย องค์กรตารวจจึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทางานอย่างมีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะที่จาเป็น มี เครื่องมือที่ทันสมัยต่อการทางาน มีบุคลากรที่เพียงพอในการทางาน อีกทั้งบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตารวจต้องมี การพบปะและให้บริการแก่ประชาชนตลอดเวลา และไม่สามารถเลือกปฏิบัติต่อผู้เข้ารับบริการในการทางานได้ เนื่องจากประชาชนที่เข้ารับบริการที่สถานีตารวจ ไม่ได้มีเฉพาะประชาชนที่มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกายแต่เพียง อย่างเดียว แต่ยังมีประชาชนส่วนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายในการเข้าใช้บริการด้วย เมื่อกล่าวถึงความพิการหรือความบกพร่องทางด้านร่างกาย ถือว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นไม่ ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทาให้บุคคลนั้นมีปฏิกิริยาต่อความพิการ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อ จิตใจของผู้พิการเป็นอย่างยิ่ง [1] จากสถิติของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้ทาการรวบรวมสถิติ คนพิการในประเทศไทย ปีพ.ศ.2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) พบว่า มีผู้พิการจานวนทั้งสิ้น 2,138,154 คน จาแนกเป็นผู้พิการทางการได้ยิน การพูด จานวน 398,659 คน และผู้พิการทางการมองเห็น จานวน 185,523 คน [2] โดยการบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการยินมากจนไม่สามารถรับรู้ข้อมูลผ่านทางการได้ ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม การบกพร่องการพูด หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถพูดเป็นถ้อยคาที่คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจได้ และการบกพร่องทางมองเห็น หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการมองเห็นมากจนต้องสอนให้อ่านอักษร เบรลล์ หรือใช้วิธีการฟังเทปหรือแผ่นเสียง [3] จากสถิติทาให้เห็นว่าจานวนผู้พิการทางการได้ยิน การพูด และการ มองเห็นในประเทศไทยมีจานวนค่อนข้างมาก แต่ผู้พิการดังกล่าวถือว่าเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน กับบุคคลที่มีสภาพร่างกายเป็นปกติ ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 ได้ บัญญัติถึงเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิของคนพิการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ สามารถพึ่งตนเองได้ สอดคล้องกับแนวคิดของหลักความเสมอภาค ที่ว่าการให้สิทธิแก่บุคคลที่จะได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกันหรือไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination) โดยการปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้อง ปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสาคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน [4] อีกทั้งผู้พิการจะต้องได้รับการบริการสาธารณะได้อย่าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3