รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
676 สะดวกเนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐจะต้องจัดให้แก่ประชาชนทุกคน [5] นอกจากนี้ในระดับสากล สิทธิของคน พิการได้รับการรับรองจากปฏิญญาสากลและมีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการต่าง ๆ เช่น อนุสัญญาระหว่าประเทศ ว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ค.ศ.2005 กฎมาตรฐานว่าด้วยการสร้างความเสมอภาคให้แก่คนพิการ ค.ศ.1993 เป็นต้น โดยต่างมุ่งเน้นการส่งเสริมคุ้มครองและประกันให้คนพิการได้รับการรับรองในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น พื้นฐานอย่างเต็มที่และเท่าเทียม [6] จากการศึกษาวิจัย พบว่าแนวคิดและทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิที่ผู้ที่ความบกพร่องทางด้านร่างกาย ได้แก่ 1. ทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierachy of Needs) แนวความคิดมนุษยนิยมภายใต้แนวคิดของมาสโลว์ โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เกิดมาดีและพร้อมที่จะทาสิ่ง ดี ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตน โดยมาสโลว์ได้อธิบาย [7] ผ่านทางทฤษฎีความต้องการขั้นพื้นฐานของ มนุษย์ 5 ประการ ซึ่งประกอบด้วย (1) ความต้องการด้านร่างกาย (2) ความการความมั่นคงปลอดภัย (3) ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (4) ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ (5) ความต้องการตระหนักในตนเอง 2. ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory) ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory) J. Stacy Adams (1965) เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้โดยมีพื้นฐาน ความคิดว่า บุคคลย่อมแสวงหาความเสมอภาคทางสังคม [7] ซึ่งทั้ง 2 ทฤษฎีนี้มีการสื่อถึงความต้องการของผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายที่มีความต้องการปัจจัย หลักที่มีความทัดเทียมกับคนปกติ โดยไม่ต้องการให้ใครมาดูถูกหรือเห็นใจต่อความบกพร่องของตนเอง และยัง ต้องการซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในด้านการบริการ รวมทั้งการมีอุปกรณ์ในการให้ความช่วยเหลือพื้นฐานเพื่อ ความสะดวกในการเข้าใช้บริการยังสถานที่ราชการต่าง ๆ ดังเช่นคนปกติธรรมดาทั่วไป ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตารวจ ตามภารกิจอันได้รับมอบหมายจากสานักงานตารวจแห่งชาติใน การดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น การให้บริการแก่ประชาชนที่มีปัญหาความบกพร่องทางการได้ยิน การ พูด และการมองเห็น จะมีปัญหาและอุปสรรคต่อการดาเนินงานเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเจ้าพนักงานตารวจยังขาด ทักษะของการสื่อสารกับผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น การอธิบายสื่อสารเรื่องราว สาหรับผู้ที่บกพร่อง ทางการได้ยินหรือการพูดที่จะต้องสื่อสารผ่านภาษามือ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตารวจไม่สามารถสื่อสารกับผู้ที่มีความบกพร่อง กลุ่มนี้ได้ หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จะไม่สามารถรับทราบข้อมูลผ่านการอ่านได้เช่นกัน จึงทาให้เกิด เป็นอุปสรรคต่อการใช้บริการของผู้ที่มีความบกพร่อง และยังเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตารวจ จาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3