รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2

677 ปัญหาและอุปสรรคข้างต้นจึงเป็นสาเหตุที่ผู้วิจัยมีความสนใจประเด็นดังกล่าวเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการ ให้บริการของเจ้าพนักงานตารวจต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น เพื่อให้ ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายสามารถเข้ารับบริการ ณ สถานีตารวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานของเจ้าพนักงานตารวจต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น 2. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการบริการของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และ การมองเห็นในสถานีตารวจ ระเบียบวิธีการวิจัย บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาจากหนังสือ ตารา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับการ ให้บริการของเจ้าพนักงานตารวจต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น ทั้ง ด้านปัญหา อุปสรรค และการให้บริการของเจ้าพนักงานตารวจ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัย งานวิจัย เรื่อง การให้บริการของเจ้าพนักงานตารวจต่อการช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การ พูด และการมองเห็น สามารถแยกประเด็นผลการศึกษาได้ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินงานของเจ้าพนักงานตารวจต่อการช่วยเหลือ ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น มีดังนี้ 1) ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในการเข้ารับบริการของสถานีตารวจ จะไม่สามารถทาการ สื่อสารกับเจ้าพนักงานตารวจได้ เนื่องจากบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจะต้องอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นผ่านภาษามือเป็นหลัก ซึ่งหากบุคคลนั้นไม่ได้มีล่ามมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารกับเจ้าพนักงานตารวจ จะ เป็นอุปสรรคในการสื่อสารและการถ่ายทอดเรื่องราวของข้อเท็จจริงเป็นอย่างยิ่ง 2) ผู้ที่มีความบกพร่องทางการพูดในการเข้ารับบริการของสถานีตารวจ แม้ผู้ที่มีความบกพร่อง ทางการพูดจะสามารถสื่อสารกับเจ้าพนักงานตารวจผ่านการได้ยิน แต่การสื่อสารกลับของผู้ที่มีความบกพร่องไปยัง เจ้าพนักงานตารวจยังคงต้องใช้ภาษามือ จึงถือว่าเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารในการถ่ายทอดเรื่องราวเช่นกัน แม้ว่าผู้ ที่มีความบกพร่องทางการพูดบางรายอาจสื่อสารทางการเขียนได้ แต่ก็ยังมีจานวนน้อย 3) ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในการเข้ารับบริการของสถานีตารวจ สามารถได้ยินการ สื่อสารจากเจ้าพนักงานตารวจและสื่อสารข้อมูลโดยการพูดกลับไปได้ แต่จะมีอุปสรรคทางการมองเห็นหรือการรับรู้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3