รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
678 ข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากสถานีตารวจในหลายท้องที่ยังไม่มีคู่มือหรือเอกสารการให้ความรู้หรือกระบวนการขั้นตอน ในการแจ้งความร้องทุกข์ที่เป็นอักษรเบรลล์ให้บริการแก่ประชาชนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จึงถือว่าเป็น อุปสรรคด้านหนึ่งในการเข้ารับบริการของประชาชนกลุ่มนี้ 2. วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการบริการของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็นในสถานีตารวจ จะต้องมีการช่วยเหลือกันในหลากหลายหน่วยงาน เนื่องจาก ผู้ที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น ถือว่าเป็นบุคคลที่จัดอยู่ในกลุ่มเปราะบาง เป็นบุคคลที่ต้องการ ได้รับการพึ่งพิงจากผู้อื่น แต่ด้วยหลักของความเป็นมนุษย์ และหลักความเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใด ทุกคนย่อมต้องได้รับความเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก หรืออุปสรรคทางด้านร่างกายเป็นสิ่งแบ่งแ ยกความ แตกต่างหรือการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งสถานีตารวจเป็นสถานที่ในการให้ความช่วยเหลือและการให้บริการแก่ประชาชน ทุกคน ดังนั้น การอานวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการอานวย ความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น เพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงและ เข้ารับการบริการจากสถานีตารวจได้ด้วยตนเอง จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวมาในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ผู้วิจัยเห็น ว่าปัญหาหลัก ๆ ของการเข้าถึงการใช้บริการของผู้ที่มีความบกพร่องได้ยิน การพูด และการมองเห็น คือ การขาด ความรู้หรือทักษะในการสื่อสารของเจ้าพนักงานตารวจ ทาให้การสื่อสาร การอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ที่มีความ บกพร่องต้องการจะสื่อเพื่อแจ้งความร้องทุกข์เกิดเป็นอุปสรรค ดังนั้น ควรเริ่มจากการพัฒนาทักษะทางการสื่อสาร ให้แก่เจ้าพนักงานตารวจ เช่น การเรียนรู้ภาษามือเบื้องต้นในการสื่อสาร หรือการจัดทาคู่มือหรือเอกสารการอธิบาย กระบวนการเบื้องต้นในการติดต่อกับเจ้าพนักงานตารวจให้แก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นได้เกิดการรับรู้ เพื่อให้การบริการของเจ้าพนักงานตารวจสามารถให้บริการให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสมอภาค และเกิดความเท่าเทียมกัน สรุปและอภิปรายผล จากผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีความบกพร่องทางด้านการได้ยิน การพูด และการมองเห็น เป็นบุคคลที่มี ความบกพร่องทางด้านร่างกาย แต่ความบกพร่องดังกล่าวไม่ควรเป็นอุปสรรคต่อการดาเนินชีวิตประจาวัน อีกทั้งการ เข้าถึงหรือการได้รับบริการจากหน่วยงานราชการที่มีความสะดวกและเอื้อต่อการใช้บริการแก่กลุ่มคนเหล่านี้ถือว่ามี ความจาเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานควรจัดอุปกรณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ กลุ่มนี้ได้ นอกจากนี้สถานีตารวจถือว่าเป็นสถานที่ราชการที่เป็นที่พึ่งยามทุกข์ให้แก่ประชาชน ทุกคนจะต้องได้รับ การบริการจากเจ้าพนักงานตารวจอย่างเท่าเทียมและเสมอภาคกัน แต่ในความเป็นจริงผู้เข้าใช้บริการที่เป็นกลุ่มที่มี ความบกพร่องทางด้านร่างกายยังไม่สามารถเข้าใช้บริการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการให้บริการของเจ้าพนักงาน ตารวจต่อผู้บกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็น ยังขาดความรู้และทักษะทางการสื่อสารภาษามือ และ ขาดอุปกรณ์ที่จาเป็นต่อการสื่อสารต่อผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น เช่น คู่มือหรือเอกสารที่เป็นอักษรเบรลล์ เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3