รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-2
679 ในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงการใช้บริการสถานีตารวจของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และ การมองเห็นนั้น ภาครัฐหรือสานักงานตารวจแห่งชาติควรให้ความตระหนักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้เกิด ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค รวมทั้งความสะดวกต่อการให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว ดังนั้น ผู้วิจัยเห็น ว่าหากต้องการพัฒนาการให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มนี้ให้มีประสิทธิภาพ ควรจะต้องดาเนินการดังนี้ 1. สานักงานตารวจแห่งชาติ ควรบรรจุหลักสูตรการอบรมภาษามือให้แก่เจ้าพนักงานตารวจทุกราย เพื่อให้ เจ้าพนักงานตารวจได้มีทักษะการสื่อสารเบื้องต้นในการนาไปปรับใช้ต่อการให้บริการแก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยินและการพูด 2. สานักงานตารวจแห่งชาติควรมีการจัดทาเอกสารหรือคู่มือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการของผู้ที่มี ความบกพร่องทางการมองเห็นไปยังสถานีตารวจทุกแห่งในประเทศไทย 3. สานักงานตารวจแห่งชาติ ควรสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนหรือสถาบันที่สอนหรือให้บริการแก่ผู้ที่มี ความบกพร่องทางด้านร่างกายทั้งประเทศ เช่น โรงเรียนโสตศึกษาประจาจังหวัด เพื่อให้เป็นหน่วยงานช่วยเหลือเจ้า พนักงานตารวจในแต่ละพื้นที่ในการสื่อสารกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูด 2. ควรมีคู่มือขั้นตอนการให้บริการที่เป็นอักษรเบรลล์ในการใช้สื่อสารแก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการ มองเห็น 3. สานักงานตารวจแห่งชาติควรจัดทาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานที่ให้บริการแก่ผู้ที่มีความ บกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น โรงเรียนโสตศึกษาประจาจังหวัด เป็นต้น เพื่อประสานความร่วมมือในการให้ความ ช่วยเหลือแก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด หรือการมองเห็น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการให้บริการเพราะข้อมูล หรือเรื่องราวการแจ้งความร้องทุกข์จะได้ถูกสื่อสารผ่านผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ดังนั้น หากสานักงานตารวจแห่งชาติสามารถดาเนินการปรับเปลี่ยนและสร้างการเรียนรู้ทางด้านภาษามือ ให้แก่เจ้าพนักงานตารวจทุกราย จะส่งผลดีเป็นอย่างยิ่งต่อการให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มนี้ ถึงแม้ว่าประชาชนกลุ่ม ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน การพูด และการมองเห็นจะมีจานวนการใช้บริการสถานีตารวจไม่มากเท่ากับ ประชาชนกลุ่มที่มีความปกติทางด้านร่างกาย แต่เพื่อความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการได้เข้ารับบริการสาธารณะ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการสนับสนุนการเรียนรู้ การจัดทาอักษรเบรลล์ รวมทั้งการสร้าง ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการให้บริการของเจ้าพนักงานตารวจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. จัดหลักสูตรการอบรมให้เจ้าพนักงานตารวจได้มีทักษะพื้นฐานในการสื่อสารภาษามือ เพื่อนาไปปรับใช้ ต่อการให้บริการแก่ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและการพูด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3