คำอธิบาย พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

3 คาอธิบายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.4 ความเป็นมาและกาหนดผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ในอดีต “สิทธิได้รู้” (Right to Know) ในประเทศไทยยังมิได้มีการรับรองและคุ้มครองไว้ในกฎหมาย อย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ ประเทศไทยมิได้กาหนดให้มีพระราชบัญญัติใดที่มีลักษณะเป็น “กฎหมายเฉพาะ” เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ ดังนั้น การที่ประชาชนจะได้รับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยหน่วยงานของรัฐมักจะปฏิเสธคาขอของประชาชน ในการขอให้เปิดเผยข้อมูลของ ราชการอยู่เสมอ แม้ข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นจะมิได้เป็นความลับ ตามหลักที่ว่า “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผย เป็นข้อยกเว้น” อันทาให้ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการทางานของหน่วยงานของรัฐและรักษาประโยชน์ ของตนได้ จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2540 จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขึ้น โดยกาหนดให้ประชาชนมี “สิทธิได้รู้” ข้อมูลข่าวสารของราชการได้ แม้ตนจะมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นก็ตาม เว้นแต่ข้อมูลข่าวสารราชการที่จะเกิดความเสียหายต่อ ประเทศชาติหรือต่อประโยชน์ที่สาคัญของเอกชน ตามหลักที่ว่า “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” สาหรับกาหนดผลใช้บังคับของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 นั้น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้มีผลใช้บังคับหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพียงเล็กน้อย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการ ประกาศให้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ส่วนพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ตอนที่ 46 ก วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2540 และกาหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป คือ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไป 1.5 เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้กาหนดไว้ในหมายเหตุท้าย พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ว่า “เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ในระบอบประชาธิปไตย การให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดาเนินการ ต่าง ๆ ของรัฐเป็นสิ่งจาเป็น เพื่อที่ประชาชนจะสามารถแสดงความคิดเห็นและใช้สิทธิทางการเมืองได้โดย ถูกต้องกับความเป็นจริง อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนมากยิ่งขึ้น สมควรกาหนดให้ ประชาชนมีสิทธิได้รู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีข้อยกเว้นอันไม่ต้องเปิดเผยที่แจ้งชัด และจากัดเฉพาะ ข้อมูลข่าวสารที่หากเปิดเผยแล้วจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ หรือต่อประโยชน์ที่สาคัญของเอกชน ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง และจะยังผลให้ประชาชนมีโอกาสรู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนอย่าง เต็มที่ เพื่อที่จะปกปักรักษาประโยชน์ของตนได้อีกประการหนึ่งด้วย ประกอบกับสมควรคุ้ม ครองสิทธิส่วน บุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารของราชการไปพร้อมกัน จึงจาเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3