คำอธิบาย พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

1 คาอธิบายพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บทที่ 1 บททั่วไป 1.1 บทนา ในบทนี้ ผู้เขียนจะกล่าวถึงกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของ ประชาชนในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เกี่ยวกับ การรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 1.2 กฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในการได้รับรู้ข้อมูล ข่าวสารของราชการ ปัจจุบัน “สิทธิได้รู้” (Right to Know) อันเป็นสิทธิของประชาชนในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของ ราชการ ได้รับการยอมรับ เป็นที่นิยมและแพร่หลายในทุกประเทศที่มีความเจริญทางด้านสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล โดยประเทศเหล่านั้นมีเจตนารมณ์ในการประกาศใช้กฎหมายที่คล้ายคลึงกัน คือ เพื่อรับรองและ คุ้มครองสิทธิของสาธารณชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยกาหนดหลักการว่า ข้อมูลข่าวสารของ ราชการจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ เว้นแต่กฎหมายจะได้กาหนดข้อยกเว้นไว้เป็นการเฉพาะ เช่น ประเทศสวีเดนมี Freedom of the Press Act 1949 ประเทศฝรั่งเศสมี The Law of July 17,1978 สหรัฐอเมริกามี Freedom of Information Act 1966 เครือรัฐออสเตรเลียมี Freedom of Information Act 1982 ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์มี Official Information Act 1982 1 สหราชอาณาจักรมี Freedom of Information Act 2000 ประเทศญี่ปุุนมี Information Disclosure Law 1999 เป็นต้น 1.3 บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เกี่ยวกับการรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติรัฐ รัฐต้องให้ความรับรองและคุ้มครองสิทธิของ ประชาชน ในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อที่ประชาชนจะได้ตรวจสอบการทางานของหน่วยงาน ของรัฐและรักษาประโยชน์ของตนได้ แต่ในอดีต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้ให้ความรับรองและ คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ จนกระทั้ง ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการให้ความรับรองและคุ้มครองสิทธิ ของประชาชนในการได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พุทธศักราช 2538 ) มาตรา 48 ทวิ ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดารงชีวิตของตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” แต่อย่างไรก็ดี 1 ชาญณรงค์ เอี่ยมสาอาง, “ปญหาการใชดุลพินิจในการเปดเผยขอมูลขาวสารของราชการในสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐ,” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-ตุลาคม 2560): หน้า 26 -27.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3