เอกสารประชุมวิชาการระดับขาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 2561
1111 งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (Research and Innovation for Social Stability, Prosperity and Sustainability) บทน�ำ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา [1] ท�าหน้าที่หลักในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน การวิจัยทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พัฒนาศักยภาพที่นักวิจัยเพื่อน�าไปสู่การผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพที่ การแสวงหาแหล่งทุนและทรัพยากรด้านการวิจัย การสร้างบรรยากาศ การวิจัยเพื่อจูงใจให้มีการผลิตผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น และส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัย ทั้งในรูปแบบการบริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยบทบาทและหน้าที่ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มีดังนี้ - หน่วยพัฒนาการวิจัย - พัฒนานักวิจัย/นักวิจัยผู้ช่วย/นักวิจัยพี่เลี้ยง - ประสานงานกับคณะ/หน่วยงานภายใน/ภายนอก - การเผยแพร่ผลงานวิจัย/การน�าผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ - แหล่งทุน - บริการวิชาการแก่สังคม ในปัจจุบันสถาบันวิจัยฯ มีระบบสารสนเทศเพื่อช่วยบริหารจัดการงานวิจัย [2] ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน รองรับให้ผู้ใช้งาน ได้แก่ นักวิจัย เจ้าหน้าที่วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารจัดการงานวิจัยผ่านระบบได้ ตั้งแต่ การส่ง ข้อเสนอโครงการวิจัย, การรายงานความก้าวหน้า, การรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, การขยายเวลาการท�าวิจัย ตลอดจนมี ระบบรายงานสรุปภาพที่รวมงานวิจัยในรูปแบบของกราฟเพื่อเสนอต่อผู้บริหารได้ ในปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้เข้ามามีบทบาทในการด�าเนินชีวิตประจ�าของคนเรา ไม่ว่าจะเป็นด้านการ ติดต่อสื่อสาร ด้านความบันเทิง ด้านการศึกษา และการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยอ�านวยความสะดวกสบาย รวดเร็ว และ สามารถท�างานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส ผู้ผลิตสามารถสร้างประสิทธิภาพที่ของอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เทียบเท่า คอมพิวเตอร์ จนสามารถกล่าวได้ว่า สามารถท�างานแทนคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่มีข้อแตกต่าง ด้วยเหตุนี้ การดูข้อมูลสารสนเทศงานวิจัยผ่านทางเว็บไซต์ ท�าให้เข้าถึงได้ยาก ไม่สะดวก และรวดเร็ว อีกทั้งใน ปัจจุบันสื่อที่ติดตัวคนเรามากที่สุด คือ อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ จึงมีความจ�าเป็นต้องพัฒนาแอปพลิเคชันส�าหรับสืบค้น ข้อมูลงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยมุ่งหวังว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวจะช่วยให้การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยว ข้องกับการด�าเนินงานวิจัย เช่น ข้อมูลนักวิจัย, ข้อมูลโครงการวิจัย และการตีพิมพ์เผยแพร่ เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว ท�าได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส กำรทบทวนวรรณกรรม หลักการออกแบบหน้าจออินเตอร์เฟสของแอปพลิเคชันในงานวิจัยฉบับนี้ ใช้หลักการ “UX” (User Experience) [5] โดยมีหลักการดังนี้ - Less is More เรียบง่ายที่สุด - Navigation Design ระบบเชื่อมโยงที่เข้าใจง่าย - Function Design ใส่ฟังก์ชั่นส�าคัญให้จบในหน้าแรกของระบบ (โดยอาจไม่จ�าเป็นต้องเลื่อนเคอร์เซอร์) - Feel Good ท�าให้ผู้ใช้รู้สึกดี เช่น วางต�าแหน่งปุ่มใช้งานตามความเคยชินของผู้ใช้ (บน ล่าง ขวา ซ้าย) ใช้รูปดึง ความสนใจ - Testing มีการทดลองใช้งานก่อน เพื่อหาช่องโหว่และลดข้อผิดพลาดให้น้อยที่สุด แอนดรอยด์แอปพลิเคชัน [4] เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนามาเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ในปัจจุบันการพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ ดังกล่าว เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็น Opensource และสามารถใช้งานได้ฟรี และนักพัฒนาก็สามารถพัฒนาได้ด้วย โน๊ตบุ๊ค หรือ PC ธรรมดาได้ ความสามารถของแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ที่สามารถท�างานร่วมกับฮาร์ดแวร์อย่างเป็นอิสระ ได้เกือบทุกอย่าง ท�าให้ได้รับความนิยมจากองค์กรจ�านวนมากมาย และมีการน�าไปประยุกต์ใช้งานกับด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา ความบันเทิง เกมส์ วิจัย เป็นต้น ธนภัทร เจิมขวัญ และพิเชษฐ์ จันทวี [2] ได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการงานวิจัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏสงขลา ในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน รองรับให้ผู้ใช้งาน ได้แก่ นักวิจัย เจ้าหน้าที่วิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหาร สามารถที่จะบริหารจัดการงานวิจัยได้ผ่านทางระบบ แต่ระบบดังกล่าวยังมีข้อจ�ากัด คือ ไม่มีความยืนหยุ่นกับการเปิดกับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3