เอกสารประชุมวิชาการระดับขาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 2561
1112 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ประจ�าปี 2561 ทุกอุปกรณ์ ถ้าพัฒนาระบบให้สามารถเปิดได้กับทุกอุปกรณ์ จะท�าให้การติดตามงานวิจัยและการดูข้อมูลต่าง ๆ เป็นไป อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เกรียงไกร ชัยมินทร์ [6] ได้พัฒนาแอปพลิเคชันส�าหรับสืบค้นวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบบอิเล็กทรอนิกส์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส ในลักษณะการให้บริการแบบห้องสมุดเสมือน ผู้ใช้สา สามารถดาวน์โหลดข้อมูลบทคัดย่อ งานวิจัยฉบับเต็มได้ แต่แอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นลักษณะดึงข้อมูลแบบอ็อพไลน์ผ่าน ทางฐานข้อมูลที่ฝังในตัวแอปพลิเคชันเอง ซึ่งท�าให้มีข้อจ�ากัดในเรื่อง ข้อมูลไม่อัพเดทแบบเรียลไทม์ ท�าให้ไม่ได้รับข้อมูลที่ เป็นปัจจุบัน วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีด�ำเนินกำร งานวิจัยฉบับนี้โดยภาพที่รวมเป็นงานวิจัยเชิงพัฒนา (Research Development) ขั้นตอนและ วิธีการด�าเนินงานของการพัฒนาระบบ ใช้ตัวแบบ ADDIE Model [3] ซึ่งมีขั้นตอนที่ส�าคัญ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนกำรวิเครำะห์ (A: Analysis) ศึกษาเอกสารงานวิจัยและต�าราที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ สอบถาม ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่วิจัย นักวิจัย และผู้ใช้ทั่วไป ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ซึ่งพบว่า ระบบงานเดิมนั้น มีการจัดเก็บข้อมูล สารสนเทศงานวิจัยผ่านทางเว็บไซต์ท�าให้เข้าถึงได้ยาก ไม่สะดวก และรวดเร็ว มีปัญหาในการแสดงผลข้อมูลกับโปรแกรม เว็บเบราเซอร์บางตัว จึงสรุปความเป็นไปได้ของระบบงานใหม่ คือ เป็นแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์สื่อสาร เคลื่อนที่ ส�าหรับ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รองรับให้ผู้ใช้ ได้แก่ นักวิจัยในเครือข่าย และผู้ใช้งานทั่วไป สามารถสืบค้นและติดตามการ ด�าเนินงานวิจัยได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และท�าได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกโอกาส 2. ขั้นตอนกำรออกแบบ (D: Design) 2.1 แผนภาพที่ยูสเคส (Use Case Diagram) เพื่อแสดงกระบวนการท�างานภาพที่รวมของระบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย จัดการข้อมูลนักวิจัย จัดการข้อมูลงานวิจัย จัดการข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่ ดู สืบค้นข้อมูลนักวิจัย สืบค้น ข้อมูลงานวิจัย และสืบค้นข้อมูลการตีพิมพ์เผยแพร่ แสดงได้ดังภาพที่ 1
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3