เอกสารประชุมวิชาการระดับขาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 2561
410 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ประจ�าปี 2561 O45 1 พื้นที่ทางวัฒนธรรมของชาวฮินดูในจังหวัดนราธิวาส 1 Cultural Space of Hindu People in Narathiwat Province วารยุทธ อาญาพิทักษ์ 2* และศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ 3 Warayut Ayaphithak 2* and Sansanee Chanarnupap 3 บทคัดย่อ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและความสาคัญของพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชาวฮินดูเชื้อสาย อินเดียในจังหวัดนราธิวาส โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสังเกต การสังเกตการณ์แบบมี ส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจานวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดนราธิวาสมีศาสนสถานฮินดูปรากฏ อยู่บริเวณเขามงคลพิพิธ ตาบลบางนาค อาเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ วิหารเทพมณเฑียร และเทวสถานพระพิฆเนศ โดยศาสนสถานทั้งสองมีพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี ที่ตั้งของศาสนสถานทั้งสองมีความน่าสนใจคือ วิหารเทพมณเฑียร ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดบางนรา ในขณะที่เทวสถานพระพิฆเนศตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าจีนโก้วเล้งจี่ ที่ตั้งของศาสนสถานฮินดูสะท้อนการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของกลุ่มวัฒนธรรมรองในจังหวัดนราธิวาส ชาวฮินดูในจังหวัด นราธิวาสยังมีเทศกาลคเณศจตุรถีเป็นเทศกาลสาคัญประจาปี เชื่อกันว่าพระพิฆเนศจะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์เพื่อประทาน พรอันประเสริฐแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ เทศกาลนี้จัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนของทุกปี มีการจัดพิธีกรรมและการ เฉลิมฉลองสิบวันสิบคืน มีการรณรงค์ให้ผู้ศรัทธาและผู้เข้าร่วมเทศกาลแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมอินเดีย มีการแห่องค์ เทวรูปและเดินพาเหรดด้วยดนตรีและการเต้นราแบบอินเดีย เทศกาลคเณศจตุรถีมีส่วนส่งเสริมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ข้าม วัฒนธรรมระหว่างกันในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส คาสาคัญ : พื้นที่ทางวัฒนธรรม ชาวฮินดู จังหวัดนราธิวาส Abstract This paper, based on qualitative research, aims to study the meaning and significance of Hindu cultural space in Narathiwat province. Data are collected by general observation, participatory observation and in-depth interview. Fifty key informants generate the core data for the study. The research found that there are two Hindu religious places in Narathiwat; Thepmontein pantheon and Ganesha monument, located in the area of Khao Monkolpipith, Tambon Bangnak Muang Narathiwat. A Brahmin who came from India performs priestly services in both places. Interestingly, Thepmontein is located in the area of a Buddhist temple while Ganesha is located in the area of a Chinese shrine. This shows kindness and courtesy among subordinate groups in the province. In addition, an annual festival honors Ganesha for ten days, starting on Ganesha Chaturthi, which typically falls in late August or early September. In Narathiwat today, Ganesha festival is not only private Hindu family celebrations but also a grand public event where people from diverse backgrounds could experience Indian culture. This festival promotes cross-cultural interaction in multicultural Narathiwat society. Keywords : Cultural Space, Hindu People, Narathiwat Province 1 บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจาปีการศึกษา 256 0 2 นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ( ไทยคดีศึกษา ) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา 90000 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา 90000 2 Graduate Student in M.A. (Thai Studies), Faculty of Humanities and Social Sciences Thaksin University, Songkhla 90000 3 Assistant Professor, Dr., Faculty of Humanities and Social Sciences Thaksin University, Songkhla 90000 * Corresponding author: warayut444@gmail.com Tel. 0818985950
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3