Proceeding2562

1038 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตารางที่ 2 ปริมาณสารประกอบฟินอลิก และสารสีแอนโทไซยานิน ในข้าวกล้องงอกผสม 4 ชุดการทดลอง ชุดการทดลอง ฟินอลิก (mg gallic acid/g sample) Anthocyanin (mg/g dry sample) ชุดการทดลองที่ 1 29.94±0.54 d 97.02±1.13 b ชุดการทดลองที่ 2 34.75±2.37 c 106.19±7.38 b ชุดการทดลองที่ 3 40.59±1.13 b 124.17±6.49 a ชุดการทดลองที่ 4 54.85±2.04 a 82.76±3.15 c หมายเหตุ : เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในแนวตั้งโดยใช้ตัวอักษร ถ้าตัวอักษรเหมือนกันก้ากับ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (P>0.05) ชุดการทดลองที่ 1 แสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระต่้าที่สุด (P<0.05) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าข้าวกล้องงอกที่ใช้อัตราส่วนผสม ที่ต่างกันระหว่างข้าว 3 ชนิด ได้แก่ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวหอมใบเตย ส่งผลให้การแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้รายงานของจิราภรณ์ [16] พบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีการดักจับ อนุมูลอิสระ DPPH ของข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอกและผลิตภัณฑ์ มีค่า IC 50 อยู่ในช่วง 0.0043 –48.5215 มก./มล. การผลิต ข้าวกล้องงอกก่อให้เกิดปฏิกิริยาการท้างานในระหว่างการงอกและท้าให้เกิดการผลิตสารกลุ่มต้านอนุมูลอิสระได้มากขึ้น เช่นเดียวกับ Suttajit [17] พบว่าข้าวกล้องสีด้าและแดงมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวกล้องสีขาว ผลการวิเคราะห์สารประกอบฟินอลิกและปริมาณสารสีแอนโทไซยานิน ปริมาณสารประกอบฟินอลิกในข้าวกล้องงอกทั้ง 4 ชุดการทดลอง (ตารางที่ 2) พบว่า ข้าวกล้องงอกในชุดการ ทดลองที่ 4 มีปริมาณสารประกอบฟินอลิกมากที่สุด เท่ากับ 54.85 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมข้าว รองลงมาคือ ชุดการทดลองที่ 3, 2 และ 1 ตามล้าดับ (P<0.05) จะเห็นได้ว่า ปริมาณสารประกอบฟินอลิก มีค่าสอดคล้องไปในท้านอง เดียวกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยการทดลองนี้ให้ค่าต่้ากว่าการวิเคราะห์ฟินอลิกในข้าวกล้องพื้นเมืองมีสีของภาคใต้ โดยสัญชัย [18] พบว่า ข้าวเหนียวด้า (96044) ข้าวเหนียวด้า (96025) ช่อไม้ใผ่ ข้าวเหนียวแดง(96060) และข้าวสังข์ หยด มีค่า 320.24, 280.15, 208.42, 84.43 และ 82.01 มก./100 ก. ตามล้าดับ เพราะการผลิตข้าวกล้องงอก มีผลต่อ การลดลงของสารประกอบฟินอลิก สอดคล้องกับงานของทัศนีย์ [19] และวันพรรษา [20] ที่พบว่าข้าวกล้องงอกต้องผ่าน กระบวนการแช่น้้า มีสารประกอบฟีนอลิกต่้ากว่าข้าวกล้อง อีกทั้ง Tian [21] พบว่าปริมาณสารประกอบฟินอลิกที่ละลาย น้้าได้ในข้าวกล้องมีมากกว่าข้าวกล้องงอก เพราะมีการสูญเสียสารกลุ่มโฟลีฟีนอลที่ละลายน้้าได้ออกไปกับน้้าที่ใช้แช่ ทั้งนี้ ประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอุมูลอิสระ ยังขึ้นอยู่กับปริมาณสารประกอบฟินอลิกในเมล็ดข้าว [17] ปริมาณสารสีแอนโทไซยานิน (ตารางที่ 2) พบว่า ข้าวกล้องงอกในชุดการทดลองที่ 3 มีปริมาณสารสีแอนโทไซ ยานินมากที่สุด เท่ากับ 124.17 มก./ก. รองลงมาคือชุดการทดลองที่ 2 และ 1 ซึ่งไม่ต่างกันทางสถิติ อยู่ในช่วง 97.02 – 106.19 มก./ก. ส่วนชุดการทดลองที่ 4 มีปริมาณสารสีแอนโทไซยานินน้อยที่สุด (P<0.05) บ่งชี้ได้ว่า ปริมาณสารสีแอนโท ไซยานินในชุดการทดลองมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่มากกว่าข้าวกล้องงอกสังข์หยดพัทลุง เพราะชุดการทดลองที่ 4 มีสัดส่วนข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่น้อยกว่าสูตรอื่นๆ ขณะที่สารประกอบฟินอลิกมีแนวโน้ม เปลี่ยนแปลงตามปริมาณข้าวกล้องงอกสังข์หยดพัทลุง เช่นเดียวกับงานของ Sompong [22] รายงานการวิเคราะห์ ปริมาณแอนโทไซยานินในข้าวสีแดง 9 พันธุ์และข้าวด้า 3 พันธุ์ พบว่า ข้าวสีด้ามีปริมาณสารแอนโทไซยานิน 109.5-256.6 มก./100ก. สูงกว่าข้าวสีแดงที่มีปริมาณแอนโทไซยานินเพียง 0.3-1.4 มก./100ก. และ Hu [23] กล่าวว่า ข้าวเหนียวด้ามี ปริมาณแอนโทไซยานินมากที่สุด ตามด้วยข้าวสีม่วง ข้าวสีแดง และข้าวกล้องขาว ตามล้าดับ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3