Proceeding2562
1041 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1 การย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก ( Tenebrio molitor Linnaeus, 1758) เกริกชัย สาศรีสุข 1* ยุพิน พิมโคตร์ 2 และนพดล ศุกระกาญจน์ 3 บทคัดย่อ บทนา : สไตโรโฟมเป็นวัสดุย่อยสลายยากและเป็นสารอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การกาจัดสไตโรโฟมโดยอาศัยการย่อยสลาย ของแบคทีเรียในลาไส้หนอนแมลงปีกแข็งบางชนิดจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมเมื่อเลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่นและระยะเวลาการอด อาหารก่อนให้สไตโรโฟมที่แตกต่างกัน วิธีการศึกษา : วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยเลี้ยงหนอนนกที่ความหนาแน่น 5 ระดับ (800, 1,600, 3,200, 4,800 และ 6,400 ตัว/ตารางเมตร) แต่ละชุดการทดลองให้สไตโรโฟมในขนาดและปริมาณที่เท่ากัน เปรียบเทียบผลการ ย่อยสลาย สไตโรโฟมของหนอนนก แล้วเลือกระดับความหนาแน่นที่มีอัตราการย่อยสลายสูงสุดมาศึกษาช่วงเวลาอด อาหารก่อนให้ สไตโรโฟม 6 ช่วงเวลา (0, 1, 3, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ One way ANOVA ผลการศึกษา : พบว่าการเลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่นต่างๆ มีอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมที่ร้อยละ 0.9558 1.0178, 1.8767, 0.7643 และ 0.5334 ตามลาดับ และเมื่อนาหนอนนกที่ระดับความหนาแน่นที่ให้อัตราการย่อยสลาย สไตโรโฟมสุงสุด (3,200 ตัว/ตารางเมตร) มาอดอาหารก่อนให้สไตโรโฟม 6 ช่วงเวลา พบว่าหนอนนกมีอัตราการย่อยสลาย สไตโรโฟมที่ร้อยละ 0.9053, 0.9565, 1.6444, 2.0072, 2.4938 และ 3.4867 ตามลาดับ โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติ (p<0.05) วิจารณ์และสรุป : หนอนนกที่เลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 3,200 ตัว/ตารางเมตร และอดอาหารก่อนให้สไตโรโฟมเป็น เวลา 24 ชั่วโมง มีอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมสูงสุด (ร้อยละ 3.4867) โดยผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางใน การกาจัดสไตโรโฟมด้วยวิธีการทางชีวภาพ คาสาคัญ : หนอนนก การย่อยสลายสไตโรโฟม วิธีการทางชีวภาพ 1 นิสิตระดับการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์-ชีววิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา 2 อาจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา 1 Student, Science-Biology, Faculty of Education, Thaksin University, Songkhla 2 Lecturer, Department of Basic Science and Mathematics, Faculty of Science Thaksin University, Songkhla 3 Assistant Professor, Department of Basic Science and Mathematics, Faculty of Science Thaksin University, Songkhla *Corresponding author : Tel.: 081-9685283 E-mail address: Kreak.2537@gmail.com
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3