Proceeding2562
1043 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ด้วย เช่น สารสไตรีน (Styrene) และ เบนซิน (Benzene) ที่มีส่วนในการทาลายไขกระดูก ทาลายตับ และไต มีผลต่อ ประสาท ส่วนกลางและส่วนปลายที่ทาให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี รวมทั้งอาจเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุทา ให้จานวนเม็ดเลือดลดลงและทาลายระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายได้ ( Beth Mole, 2015) แต่อย่างไรก็ตามยังคงมี ทางเลือกสาหรับการกาจัดขยะประเภทโฟมโดยอาศัยวิธีการทางชีวภาพ โดยอาศัยการย่อยสลายของแบคทีเรียในลาไส้ของ ตัวอ่อนแมลงปีกแข็งบางประเภท ซึ่งสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศและยับยั้งการเกิดสารเคมีบางชนิดที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายได้ในระดับหนึ่ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก ตลอดจนศึกษาระยะเวลาการ อดอาหารที่เหมาะสมที่สุดของหนอนนกที่ส่งผลต่อการย่อยสลายสไตโรโฟมได้ดีที่สุด ผลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ ต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในด้านการลดปัญหาขยะประเภทสไตโรโฟม และถือเป็นทางเลือกทางชีวภาพที่ปลอดภัยต่อ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมที่ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงหนอนนก ในระดับความหนาแน่น และระยะเวลาการ อดอาหารก่อนให้สไตโรโฟมที่แตกต่างกัน ขอบเขตการวิจัย ทาการทดลองโดยใช้หนอนนก อายุ 30 วัน นามาเลี้ยงในกระบะสแตนเลสกาหนดให้มีระดับความหนาแน่น แตกต่างกัน (จานวนตัว/พื้นที่) โดยเลี้ยงหนอนนกที่มีระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 5 ระดับได้แก่ 50 ตัว/พื้นที่ 100 ตัว/ พื้นที่ 200 ตัว/พื้นที่ 300 ตัว/พื้นที่ และ 400 ตัว/พื้นที่ ให้อาหารเป็นสไตโรโฟมในปริมาตรที่เท่ากัน เพื่อศึกษาอัตราการ ย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก กาหนดระยะเวลาที่ใช้ในการย่อยสไตโรโฟมและบันทึกผลทุก ๆ 60 นาที และกาหนด ระยะเวลาการอดอาหารของหนอนนก ก่อนการย่อยสไตโรโฟม เป็น 6 ช่วงเวลาคือ 0 ชั่วโมง (ควบคุม) 1 ชั่วโมง 3 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง (ใช้อาหารสาเร็จรูปเป็นอาหารเลี้ยงทั่วไปก่อนจะให้ย่อยสลายสไตโรโฟม) สถานที่และระยะเวลาที่ทาการวิจัย สถานที่ทาการศึกษารวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผล ห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ระยะเวลาทาการวิจัย ทาการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 - เดือนกุมภาพันธ์ 2561 วิธีการดาเนินการวิจัย ศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก เมื่อเลี้ยงที่ความหนาแน่น แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ 50 ตัว 100 ตัว 200 ตัว 300 ตัว 400 ตัว ต่อกระบะสแตนเลส จากนั้นศึกษาระยะเวลาการอดอาหารที่เหมาะสมที่สุดของ หนอนนกที่ส่งผลต่อการย่อยสลายสไตโรโฟมได้ดีที่สุด 6 ช่วงเวลา คือ 0 1 3 6 12 และ 24 ชั่วโมง วางแผนการทดลอง ด้วยวิธีสุ่มสมบูรณ์ ( Completely randomized design : CRD ) โดยนาหนอนนก อายุ 30 วัน มาเลี้ยงไว้ในกระบะส แตนเลส ขนาด 8x12x3 นิ้ว ให้อาหารสาเร็จรูปเป็นเวลา 10 วัน เพื่อให้หนอนนกเกิดความคุ้นชินกับการเลี้ยง เมื่อหนอน นกปรับตัวได้แล้วจึงนามาทาการทดลอง ตอนที่ 1 และ 2 ดังนี้ การทดลองตอนที่ 1 ศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟม ของหนอนนก เมื่อเลี้ยงที่ความหนาแน่น แตกต่างกัน 5 ระดับ โดยแบ่งการ ทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 เลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่น 50 ตัว ชุดการทดลองที่ 2 เลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่น 100 ตัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3