Proceeding2562
1046 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 อภิปรายผลการวิจัย จากผลการศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก เมื่อเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 5 ระดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ One way anova พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) กล่าวคือ เมื่อเลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่น 200 ตัว/พื้นที่ (ร้อยละ 1.8767) มีอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมสูงสุด รองลงมาคือ เมื่อเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 100 ตัว/พื้นที่ (ร้อยละ 1.0178) 50 ตัว/พื้นที่ (ร้อยละ 0.9558) 300 ตัว/ พื้นที่ (ร้อยละ 0.7643) และ 400 ตัว/พื้นที่ (ร้อยละ 0.5334) ตามลาดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่โดยวิธี Tukey พบว่ามี ความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างระดับความหนาแน่น 50 ตัว/พื้นที่ กับ 200 ตัว/พื้นที่ (p=0.044) 100 ตัว/ พื้นที่ กับ 200 ตัว/พื้นที่ (p=0.026) 200 ตัว/พื้นที่ กับ 300 ตัว/พื้นที่(p=0.016) และ 200 ตัว/พื้นที่ กับ 400 ตัว/พื้นที่ (p=0.005) แสดงให้เห็นว่า แม้หนอนนกมีขนาดลาตัวค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่อาศัย แต่ด้วยเหตุที่ว่า หนอนนกมีพฤติกรรมการกินอาหารตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อประชากรของหนอนนกมากขึ้น ความต้องการอาหาร ความสามารถในการเข้าถึงอาหารและการกินอาหารจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น จากผลการศึกษาระยะเวลาอดอาหารที่เหมาะสมที่สุดต่อการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก 6 ช่วงเวลา โดย ใช้ระดับความหนาแน่น 200 ตัว/พื้นที่ เนื่องจากส่งผลต่ออัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมได้สูงสุด พบว่า หนอนนกเมื่ออด อาหารก่อนทาการทดลองแต่ละช่วงเวลา เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ One way anova พบว่า มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) นั่นคือ เมื่อหนอนนกอดอาหารที่ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง (ร้อยละ 3.4867) มี อัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมได้ดีที่สุด รองลงมา 12 ชั่วโมง (ร้อยละ 2.4938) 6 ชั่วโมง (ร้อยละ 2.0072) 3 ชั่วโมง (ร้อยละ 1.6444) 1 ชั่วโมง (ร้อยละ 0.9565) และ 0 ชั่วโมง (ร้อยละ 0.9053) ตามลาดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายคู่โดย วิธี Tukey พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างระยะเวลาอดอาหาร 0 ชั่วโมง กับ 12 ชั่วโมง (p=0.006) 0 ชั่วโมง กับ 24 ชั่วโมง (p=0.000) 1 ชั่วโมง กับ 12 ชั่วโมง (p=0.007) 1 ชั่วโมง กับ 24 ชั่วโมง (p=0.000) 3 ชั่วโมง กับ 24 ชั่วโมง (p=0.002) และ 6 ชั่วโมง กับ 24 ชั่วโมง (p=0.011) สังเกตเห็นได้ว่าความสามารถในการย่อยสลายสไต โรโฟมของหนอนนกดีที่สุดเมื่ออดอาหาร 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีพฤติกรรมการกินอาหารตลอดเวลา เพื่อต้องการลอกคราบ และเตรียมตัวเข้าสู่ระยะดักแด้ ดังนั้นเมื่อได้รับอาหารหลังจากอดอาหารเป็นเวลานาน ส่งผลให้หนอนนกมีความต้องการ อาหารและกินอาหารได้อย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่า อัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ดังนั้นหาก ต้องการให้หนอนนกสามารถย่อยสลายสไตโรโฟมได้เป็นอย่างดี ควรคานึงถึงอุณหภูมิสภาพแวดล้อมเป็นหลักสาคัญ โดย พบว่า ณ อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ความสามารถในการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนทั้งสองชนิดทางานได้ ค่อนข้างดี แต่หากอุณหภูมิต่ากว่า 25 องศาเซลเซียส พบว่าความสามารถในการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนกจะด้อย สมรรถภาพลง สรุปผลการวิจัย การศึกษาอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนกเมื่อเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 5 ระดับ ได้แก่ 50 100 200 300 และ 400 ตัว/พื้นที่ โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 5 ชุดการทดลอง และระยะเวลาอดอาหารที่ เหมาะสมที่สุดในการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก ได้แก่ 0 1 3 6 12 และ 24 ชั่วโมง โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 6 ชุดการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติวิธี One way anova ตามการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์และเปรียบเทียบความ แตกต่างรายคู่โดยใช้วิธี Tukey ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยโปรแกรม SPSS พบว่า อัตราการย่อยสลายสไตโรโฟม เมื่อ เลี้ยงหนอนนกที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน 5 ระดับ มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) ส่วนระยะเวลาอดอาหารที่ เหมาะสมต่อการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก พบว่า อัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนก เมื่อกาหนด ระยะเวลาอดอาหารต่างกันมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p<0.05) แสดงให้เห็นว่าอัตราการย่อยสลายสไตโรโฟมของหนอนนกขึ้นอยู่กับระดับความหนาแน่น (ตัว/พื้นที่) ตลอดจน ระยะเวลาในการอดอาหารก่อนย่อยสลายสไตโรโฟม โดยหากประชากรหนอนนกมีความเหมาะสมต่อพื้นที่ จะส่งผลต่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3