Proceeding2562
1050 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนา การศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการพันธุศาสตร์ ใช้แมลงหวี่เป็นสัตว์ทดลอง เพราะวงชีวิตสั้นโดยประมาณ 10-14 วัน [1] และมีลักษณะพันธุกรรมที่สังเกตง่าย แมลงหวี่ชนิดที่นิยมนามาใช้ใน ห้องปฏิบัติการมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Drosophila melanogaster แต่ปัญหาที่พบ คือเมื่อเลี้ยงในห้องปฏิบัติการนาน หลายสิบปี ทาให้ลูกแต่ละรุ่นมีจานวนน้อยลงส่งผลต่อการสรุปผลการทดลองที่คลาดเคลื่อนจึงคิดสูตรอาหารที่สามารถ เพิ่มปริมาณไข่ของแมลงหวี่ โดยการเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ในห้องปฏิบัติการจะใช้อาหารสูตรข้าวโพดบดแต่ในธรรมชาติแมลง หวี่สามารถพบเห็นได้ตามผลไม้สุกงอม เป็นแหล่งที่มีน้าตาลความเข้มข้นสูง มีการเจริญของยีสต์ได้ดี แมลงหวี่กินยีสต์ที่ เจริญในผลไม้เป็นอาหาร ผู้วิจัยจึงเลือกนาลูกตาลโตนดโดยนาส่วนของเนื้อตาลโตนดสุก มาเป็นส่วนผสมหลักในการ ทาอาหารเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ เพราะลูกตาลโตนดจะพบสุกหล่นและเน่าเสียใต้ต้น เป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและเป็น วัสดุที่เปล่าประโยชน์ เนื้อตาลโตนดสุกประกอบด้วยโปรตีนร้อยละ 9.9 ซึ่งแมลงหวี่เพศเมียจะวางไข่ได้มากขึ้นเมื่อเลี้ยงใน อาหารที่มีโปรตีนสูง [2] ผู้วิจัยจึงเลือกนาเนื้อตาลโตนดสุกเพื่อเป็นส่วนผสมหลักของสูตรอาหารที่สามารถเพิ่มปริมาณไข่ ของแมลงหวี่และเปรียบเทียบจานวนไข่ของแมลงหวี่ที่เลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงสูตรเนื้อตาลโตนดสุกและอาหารสูตรเดิม ทั้งเป็นทางเลือกหนึ่งในการทาอาหารเพาะเลี้ยงจากวัตถุดิบอื่น นอกเหนือจากการใช้ข้าวโพดบด ซึ่งเป็นสูตรเดิมที่ใช้อยู่ใน ห้องปฏิบัติการ เป็นการนาทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นและเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ วิธีดาเนินการ เลี้ยงแมลงหวี่ในอาหารแต่ละสูตร ดังนี้ ชุดควบคุม คือ อาหารสูตรเดิมปริมาณยีสต์ 2% (ภาพที่ 1ก.) กลุ่ม ทดลอง คืออาหารสูตรเดิมปริมาณยีสต์ 3% และ 4% เป็นสูตร C1 และ C2 ตามลาดับ และอาหารสูตรเนื้อตาลโตนดสุก ปริมาณยีสต์ 3% และ 4% (ภาพที่ 1ข.) เป็นสูตร T1 และ T2 ตามลาดับ เลี้ยงแมลงหวี่ 5 คู่ในอาหารแต่ละสูตร เป็นเวลา 10 วัน จากนั้นสุ่มแมลงหวี่รุ่นลูก 2 คู่ เลี้ยงในอาหารใหม่ในแต่ละชุดการทดลอง (เลี้ยงในอาหารที่อยู่ในจานแก้ว) เป็น เวลา 48 ชั่วโมง แมลงหวี่วางไข่บนหน้าอาหาร นับจานวนไข่ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ (ภาพที่ 2ก.) โดย ใช้พู่กันเขี่ยไข่ที่อยู่บนหน้าอาหารเปรียบเทียบจานวนไข่ในแต่ละชุดการทดลองกับชุดควบคุม เลี้ยงในอาหารเดียวกันอีก 2 วัน ทาการทดลอง 3 ซ้า และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แบบ One-Way ANOVA ด้วยโปรแกรม SPSS version 23 ภาพที่ 1 อาหารเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ ก. สูตรข้าวโพดบด ข. สูตรเนื้อตาลโตนดสุก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3