Proceeding2562

1051 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย เปรียบเทียบจานวนไข่จากแมลงหวี่ที่เลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงสูตรข้าวโพดบด (สูตรเดิม) กับอาหารสูตรเนื้อ ตาลโตนดสุกที่มีปริมาณยีสต์ 3% และ 4% และสูตรควบคุมที่มีปริมาณยีสต์ 2% ผลปรากกฎว่าอาหารสูตร C1, T1, C2 และ T2 ทาให้แมลงหวี่วางไข่เฉลี่ย 74±4.71, 88±6.00, 74±3.73 และ 87±7.31 ฟอง ตามลาดับ (ภาพที่ 2 และ 3) เมื่อนาผลของจานวนไข่เฉลี่ยของแมลงหวี่ที่เลี้ยงในอาหารแต่ละสูตรมาเปรียบเทียบกัน พบว่าแมลงหวี่ที่เลี้ยงในชุดทดลอง ทั้ง 4 สูตร ทาให้แมลงหวี่วางไข่ได้จานวนมากแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ( P <0.05) กับสูตรควบคุม ซึ่งมีจานวนไข่ 44±4.13 ฟอง อาหารสูตรที่สามารถเพิ่มการผลิตไข่ของแมลงหวี่ได้มากที่สุด คือ อาหารสูตร C2 รองลงมา คือ อาหารสูตร T2 ซึ่งมี ปริมาณยีสต์ 4% ทาให้แมลงหวี่วางไข่มากแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญ ( P <0.05) กับอาหารสูตร C1 และ T1 ซึ่งมีปริมาณ ยีสต์ 3% แต่อาหารทั้งสองสูตร (T2 และ C2) ทาให้แมลงหวี่วางไข่ไม่แตกต่างทางสถิติ ( P >0.05) สอดคล้องกับวิจัยของ เลียล่าและคณะ [2] พบว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงจะทาให้แมลงหวี่วางไข่จานวนมาก ซึ่งอาหารสูตร C2 ทาให้แมลงหวี่วางไข่ ได้มากที่สุด แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับสูตร T2 ทั้งนี้เนื่องมาจากในข้าวโพดบดและเนื้อตาลโตนดสุกมีปริมาณโปรตีน 9.9% และ 8.6% ตามลาดับ ซึ่งเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกัน และทั้งสองสูตรมีปริมาณยีสต์มีเท่ากันคือ 4% จึงทาให้แมลง หวี่วางไข่ได้จานวนไม่แตกต่างทางสถิติ ดังนั้นการเลือกใช้สูตรอาหารในการเพาะเลี้ยงแมลงหวี่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และความสอดคล้องในท้องถิ่นนั้นๆ ภาพที่ 2 ไข่ของแมลงหวี่ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ ก. ภาพถ่าย ข. ภาพวาด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3