Proceeding2562
1065 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. การตรวจหาหนอนพยาธิ ผลการศึกษาพบหนอนพยาธิทั้ง 50 ตัว สามารถจัดจ้าแนกได้เป็น 4 ชนิด คือ หนอนพยาธิตัวตืด (Cestode) 2 ชนิด คือ Taenia taeniaeformis ระยะ Strobilocercus larval และ Hymenolepis diminuta และหนอนพยาธิ ตัวกลม (Nematode) 2 ชนิด คือ Angiostrongylus cantonansis และ Rictularia sp. ส้าหรับ H . diminuta เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไปในหนูในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [5] มีความส้าคัญทางการแพทย์และสาธารณะสุข ซึ่งเสี่ยงต่อ การเกิดโรคที่ติดต่อได้จากสัตว์สู่คน [6] ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีค่าความชุกของหนูที่มีการติดเชื้อหนอนพยาธิเท่ากับ 14.63 เปอร์เซ็นต์ (6/41) หนอนพยาธิในหนูมีค่าความชุก และค่าความหนาแน่นดังนี้ หนอนพยาธิตัวตืด (Cestode) 2 ชนิดคือ T . taeniaeformis (7.32 เปอร์เซ็นต์, 3.67) ส้าหรับ H . diminuta (2.44 เปอร์เซ็นต์, 4) และหนอนพยาธิตัวกลม (Nematode) 2 ชนิด คือ A . cantonansis (7.32 เปอร์เซ็นต์, 11.33) ส้าหรับ Rictularia sp. (2.44 เปอร์เซ็นต์, 1) ตามล้าดับ ในการศึกษาพบว่าหนูหริ่งบ้าน ( Mus musculus ) ไม่มีการติดเชื้อหนอนพยาธิใด ๆ ซึ่งการรายงานก่อนหน้านี้ พบว่าหนูจากหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงไม่มีการติดเชื้อหนอนพยาธิใด ๆ เลย คือ หนูหริ่งบ้าน [7] อาจเนื่องมาจากเกิดการบุกรุก ท้าลายสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างถิ่นที่อยู่อาศัยของคนเพิ่มมากขึ้น มีการตัดต้นไม้ท้าลายป่า เพื่อท้าการเกษตร ส่งผลกระทบต่อการด้ารงชีวิตของหนู เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และเป็นผลท้าให้ การติดเชื้อหนอนพยาธิลดลงด้วย [5, 8] และจากการศึกษาในครั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศของหนูจี๊ด จ้านวน 31 ตัว พบว่าหนูเพศผู้มีค่าความชุก การติดเชื้อเท่ากับร้อยละ 11.11 (2/18) และหนูเพศเมียมีค่าความชุกเท่ากับร้อยละ 7.69 (1/13) ตามล้าดับ จากการทดสอบจ้านวนหนูแต่ละเพศที่มีการติดเชื้อด้วย Chi-square Test พบว่าหนูเพศผู้และเพศเมียมีการติดเชื้อไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยส้าคัญ (P ≥ 0.05) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ [6] สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาตรวจหาหนอนพยาธิจากอวัยวะภายในช่องท้องของหนูบ้านที่ดักจับได้จากต้าบลก้าแพงเซา อ้าเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จ้านวน 41 ตัว โดยหนูที่ดักจับได้สามารถจัดจ้าแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ หนูจี๊ด ( Rattus exulans ) จ้านวน 31 ตัว ติดเชื้อหนอนพยาธิจ้านวน 3 ตัวมีค่าความชุกก ารติดเชื้อหนอนพยาธิเท่ากับ 9.67 เปอร์เซ็นต์ หนูหริ่งบ้าน ( M . musculus ) จ้านวน 6 ตัว ไม่มีการติดเชื้อหนอนพยาธิ และหนูท้องขาวหรือหนูหลังคา ( Rattus rattus ) จ้านวน 4 ตัว ติดเชื้อหนอนพยาธิจ้านวน 3 ตัวมีค่าความชุกเท่ากับ 75 เปอร์เซ็นต์ การส้ารวจ การติดเชื้อหนอนพยาธิโดยรวมของหนูทั้งหมดมีค่าความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิเท่ากับ 14.63 เปอร์เซ็นต์ (6/41) จากการศึกษาครั้งนี้พบหนอนพยาธิทั้งหมด 4 ชนิดซึ่งสามารถจัดจ้าแนกได้ดังนี้ หนอนพยาธิตัวกลม (Nematode) 2 ชนิดคือ A . cantonansis พบใน หนูจี๊ด และ หนูท้องขาวหรือหนูหลังคา มีค่าความชุกของการติดเชื้อ หนอนพยาธิเท่ากับร้อยละ 6.45 และ 25 ตามล้าดับ ส่วน Rictularai sp. พบในหนูจี๊ดเท่านั้น โดยมีค่าความชุก เท่ากับร้อยละ 3.22 ส้าหรับหนอนพยาธิตัวตืด (Cestode) 2 ชนิด คือ T . taeniaeformis ระยะ Strobilocercus larval พบในหนู R . exulans และ R . rattus มีค่าความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิเท่ากับ 3.22 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามล้าดับ และหนอนพยาธิตัวตืด H . diminuta พบในหนูท้องขาวหรือหนูหลังคา เท่านั้น มีค่าความชุกของการติดเชื้อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3