Proceeding2562
1067 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน แมลงในระยะท้ายของการเน่าสลายในซากศพสุกร บริเวณพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ร่มไม้ ในอ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มาตรการ จิตปาโล 1 และโสภาค จันทรฤทธิ์ 2* บทคัดย่อ บทน�ำ : นิติกีฏวิทยาเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ของแมลงและสัตว์ขาข้อเพื่อใช้ในการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม ซึ่งการเน่า สลายของสิ่งมีชีวิตสามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ โดยระยะท้ายจะใช้เวลายาวนานมากที่สุด และสามารถดึงดูด แมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์ เฉพาะกลุ่มซึ่งสามารถน�ำมาใช้ในการศึกษาทางนิติกีฏวิทยาได้ วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาองค์ประกอบและความชุกชุมของแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในระยะท้ายของการเน่าสลายของ ซากสุกร วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้ได้ก�ำหนดพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ คือ พื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ร่มไม้ ในเขตชานเมือง ของอ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยวางซากสุกรขนาดกลาง/ใหญ่ (35–40 กิโลกรัม) ทั้งหมด 4 ครั้ง ระหว่างเดือน มิถุนายน–พฤศจิกายน 2561 พื้นที่ ละ 1 ซาก รวมครั้งละ 2 ซาก เก็บตัวอย่างแมลงโดยวิธีใช้ถุงซิป ปากคีบ และกับดักหลุม รวมถึงบันทึกปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์อากาศ และปริมาณน�้ำฝน ผลการศึกษา : พบแมลงทั้งหมด 4 อันดับ 15 วงศ์ 22 สกุล และ 24 ชนิด โดยพื้นที่โล่งแจ้ง พบแมลงทั้งหมด 18 ชนิด จาก 14 วงศ์ ย่อย ในขณะที่พื้นที่ร่มไม้ พบแมลง 20 ชนิด จาก 14 วงศ์ย่อย และพบว่าทั้ง 2 พื้นที่ แมลงวันชนิด Piophila casei และด้วงชนิด Necrobia ruficollis เป็นกลุ่มเด่น โดยพบจ�ำนวนตัวมากที่สุด วิจารณ์และสรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าความมากชนิดแมลงที่พบทั้ง 2 พื้นที่ไม่มีความแตกต่างกัน และการศึกษา ครั้งนี้ พบว่า ด้วงชนิด Necrobia ruficollis เหมาะส�ำหรับใช้เป็นตัวแทนในการประมาณระยะเวลาหลังการตาย ในระบบนิเวศแบบโล่งแจ้ง และร่มไม้ ค�ำส�ำคัญ : นิติกีฏวิทยา การเน่าสลาย การประมาณระยะเวลาหลังการตาย ภาคใต้ของประเทศไทย 1 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา., สาขานิติวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา 90110 2 ดร., สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา 90110 1 Graduate student, Forensic science, Department of Applied Science, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla, 90110, Thailand 2 Dr., Excellence Center for Biodiversity of Peninsular Thailand, Faculty of Science, Prince of Songkla University, Hat Yai,Songkhla, 90110, Thailand * Corresponding author: Tel., 083-0627800. E-mail address: sopark.j@psu.ac.th
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3