Proceeding2562
1069 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3 บทนา การใช้ความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์สามารถนามาหาตัวผู้กระทาผิดในคดีอาชญากรรมได้จากความรู้พื้นฐาน เช่น การพิสูจน์หลักฐาน การตรวจสอบที่เกิดเหตุ หรือการรวบรวมพยานหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ เป็นต้น การใช้ความรู้ ทางด้านชีววิทยาของแมลงมาประยุกต์ร่วมกับงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ หรือที่เรียกว่า นิติกีฏวิทยา (Forensic Entomology) สามารถนามาใช้ในการพิสูจน์หลักฐานทางอาชญากรรม ซึ่งปัจจุบันได้มีการนาแมลงมาใช้ประโยชน์ในงาน ด้านนิติวิทยาศาสตร์หลายๆ ด้าน หนึ่งในนั้นคือ การประมาณระยะเวลาหลังการตาย (Post Mortem Interval; PMI) โดย พิจารณาจากช่วงเวลาที่ใช้ในการพัฒนาของวงจรชีวิตแมลงแต่ละชนิด โดยในทางนิติเวชศาสตร์ การประมาณระยะเวลา การตายในระยะแรกนั้น สามารถสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของศพ เช่น การแข็งตัวของกล้ามเนื้อ, การ ตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง, การลดลงของอุณหภูมิร่างกายหลังการตาย เป็นต้น แต่ในกรณีที่ศพเสียชีวิตมากกว่า 24 ชั่วโมง การสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจะทาให้การการประมาณระยะเวลาหลังการตายมีความแม่นยาน้อยลง จึงต้องอาศัยความรู้ทางด้านนิติกีฏวิทยามาประยุกต์ใช้ในการประมาณระยะเวลาหลังการเสียชีวิต [12] กระบวนการเน่าสลายของซากศพ เกิดขึ้นเมื่อมีการเสียชีวิต โดยร่างกายของศพจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการเน่าสลายของซากศพตามการจาแนกของ Gennard [6] สามารถจาแนกได้ 5 ระยะ ได้แก่ ระยะสด (Fresh stage) ระยะอืด (Bloated stage) ระยะเน่าสลาย (Active decay stage) ระยะเน่าสลายเต็มที่ (Post-decay stage) และระยะแห้ง (Skeletonization) ตามลาดับ ซึ่งในแต่ละระยะของกระบวนการเน่าสลายของซากศพจะมีการ ดึงดูดชนิดของสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาใช้ประโยชน์แตกต่างกัน โดยแมลง ซึ่งจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามายังซาก และมีบทบาทต่อ การเน่าสลายของซากมากที่สุด โดยทั่วไปแมลงกลุ่มแรกที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับซากศพจะเป็นแมลงกลุ่มกินเนื้อเยื่อซากศพ (Necrophagous species) หรือเป็นกลุ่มที่เข้ามากินซากโดยตรง อีกทั้งแมลงกลุ่มนี้จะเข้ามาวางไข่จานวนมากหลังการ เสียชีวิต เช่น กลุ่มของแมลงวันในวงศ์ Calliphoridae (แมลงวันหัวเขียว), วงศ์ Sarcophagidae (แมลงวันหลังลาย), วงศ์ Muscidae (แมลงวันบ้าน) เป็นต้น ซึ่งจะพบว่าแมลงที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับซากศพในช่วงแรก (ระยะ Fresh และ Bloated) นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มของแมลงวัน ส่วนในระยะท้าย (ระยะ Active decay, Post-decay และ Skeletonization) ของ การเน่าสลายของซากศพนั้น จะพบกลุ่มของแมลงวันน้อยลง แต่จะพบกลุ่มของด้วงหลายชนิดเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจาแนกได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เข้ามากินซากโดยตรง และกลุ่มที่เข้ามากินแมลงชนิดอื่นบนซาก โดยแมลงที่มีความสาคัญ คือ ด้วงชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae และ Necrobia rufipes ในวงศ์ Cleridae [10] ในปัจจุบันความรู้ทางด้านนิติกีฏวิทยาได้มีการพัฒนาและแพร่หลายอย่างมากในทวีปยุโรปและอเมริกา อย่างไรก็ ตามการศึกษาการเน่าสลายและการเข้ามาของแมลงในระยะต่างๆของประเทศไทยยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก ซึ่งส่วน ใหญ่จะทาการศึกษาในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทยเป็นหลัก [ยกตัวอย่างเช่น 3,12,13,15] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคใต้ของประเทศไทยมีการศึกษาน้อยมาก เพียงแค่ 3 การศึกษาเท่านั้น [1,2,4] และทั้งหมดศึกษาในพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน การศึกษาครั้งนี้นอกจากจะเพิ่มพื้นที่ศึกษาในระบบนิเวศแบบโล่งแจ้งและร่มไม้แล้ว ยังเป็นการศึกษาทางนิติกีฏวิทยาที่ สมบูรณ์และใช้ซากสุกรที่มีขนาดมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทางนิติกีฏวิทยา ระยะท้ายของการเน่าสลายเป็นระยะที่ใช้ เวลานานมากที่สุด จึงมีความจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาแมลงที่พบบนซากศพทุกชนิด ดังนั้นผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะ เป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์สาหรับบัญชีรายชื่อแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากซากศพในระยะท้าย และสามารถนาไปสู่ การประยุกต์ใช้ในการประมาณระยะเวลาหลังการเสียชีวิตให้มีความถูกต้องและแม่นยามากที่สุด อีกทั้งยังสามารถนาไปใช้ ต่อยอดสาหรับผู้ที่มีความสนใจทางด้านนิติกีฏวิทยาต่อไปได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3