Proceeding2562
1070 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 4 วิธีดาเนินการ 1. พื้นที่ศึกษา การศึกษาวิจัยได้ดาเนินการในพื้นที่ชานเมือง ตาบลคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยแบ่งพื้นที่ศึกษา ออกเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่โล่งแจ้ง (ทุ่งนาร้าง) มีแสงแดดส่องถึงตลอดเวลาและมีหญ้าปกคลุมทั่วพื้นที่ และพื้นที่ร่มไม้ มีลักษณะเป็นพื้นที่หย่อมป่า มีต้นไม้สูงปกคลุม แสงแดดส่องราไร (ภาพที่ 1) ภาพที่ 1 แผนที่และที่ตั้งของพื้นที่ศึกษา 1 = พื้นที่โล่งแจ้ง, 2 = พื้นที่ร่มไม้ 2. ชนิดของซากที่ใช้ในการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้สุกร ( Sus scrofa domesticus Erxleben, 1777) จากฟาร์มในอาเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เป็นตัวแทนในการศึกษาแทนการเน่าสลายของมนุษย์ เนื่องจากลักษณะของสุกรกับมนุษย์มีความคล้ายคลึงกันใน หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้านมเหมือนกัน รูปแบบการกิน ลักษณะของระบบทางเดินอาหาร [7] โดยซาก สุกรที่ใช้ทดลองครั้งนี้เป็นซากที่มีขนาดกลาง/ใหญ่ น้าหนักประมาณ 35–40 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นซากที่ได้รับการแนะนา ว่าเหมาะสมและดีที่สุดที่จะใช้เป็นมาตรฐานในการศึกษาการสลายตัวและลาดับการเข้ามาของแมลงของซาก [11] 3. ระยะเวลาการศึกษา ทาการเก็บตัวอย่างในพื้นที่ศึกษาจานวน 4 ครั้ง ครั้งละ 1 เดือนหรือจนกว่าซากสุกรจะเน่าสลายจนหมด ซึ่ง การศึกษาครั้งนี้พบว่า ซากสุกรจะเข้าสู่ระยะท้าย เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 8–9 วัน ซึ่งแมลงในระยะท้าย จะเริ่มเก็บตั้งแต่ วันที่ 9 เป็นต้นไป (วันที่ 9–30) เริ่มเก็บครั้งที่ 1 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 3 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561 และครั้งที่ 4 วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยจะเก็บตัวอย่างแมลง วันละ 2 ครั้ง คือ ในช่วงเช้า เวลาประมาณ 8.00–10.00 นาฬิกา และในช่วงเย็น เวลาประมาณ 16.00–18.00 นาฬิกา 4. การออกแบบการทดลอง ทาการสุ่มวางซากสุกรพร้อมกันทั้ง 2 พื้นที่ รวมจานวน 8 ซาก โดยวางซากสุกรครั้งละ 2 ตัว (พื้นที่โล่งแจ้ง 1 ตัว และพื้นที่ร่มไม้ 1 ตัว) ภายในกรงเหล็กตาข่าย ขนาด 1.5x1.5x1.5 เมตร เพื่อป้องกันการเข้ามาทาลายซากของสัตว์กินซาก ชนิดอื่นๆ พร้อมบันทึกอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ศึกษาโดยเทอร์โมมิเตอร์และไฮโกรมิเตอร์ การเก็บตัวอย่าง 1 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3