Proceeding2562
1071 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5 แมลง จะสุ่มเก็บตัวอย่างโดยใช้ถุงซิปครอบ (Zip-lock bags) ปากคีบ (Forceps) และการใช้กับดักหลุม (Pitfall traps) และรักษาสภาพของตัวอย่างแมลงในขวดที่บรรจุด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ 95% และนาตัวอย่างแมลงไปศึกษาต่อใน ห้องปฏิบัติการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สาหรับการจัดจาแนกชนิดของแมลง จะใช้ส่วนของสัณฐานวิทยาภายนอกภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ (Stereo microscope) โดยแมลงวันจะจัดจาแนก ตามคู่มือของ Greenberg และ Kunich [8] และแมลงชนิดอื่นเบื้องต้นจะจัดจาแนกตาม Triplehorn และ Johnson [14] ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย 1. ความมากชนิดของแมลงในระยะท้ายของการเน่าสลาย การศึกษาความมากชนิดของแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากซากสุกรในระยะท้ายของการเน่าสลายในพื้นที่ชาน เมือง บริเวณตาบลคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบแมลงรวมทั้งหมด 4 อันดับ คือ แมลงในอันดับ Diptera อันดับ Coleoptera อันดับ Hymenoptera และอันดับ Dermaptera ตามลาดับ ใน 15 วงศ์ 17 วงศ์ย่อย 22 สกุล 24 ชนิด (ตารางที่ 1) โดยพบแมลงจานวน 18 ชนิด จาก 14 วงศ์ย่อย ในซากสุกรบริเวณพื้นที่โล่งแจ้ง และพบแมลงจานวน 20 ชนิด จาก 14 วงศ์ย่อย ในบริเวณซากสุกรในพื้นที่ร่มไม้ (ตารางที่ 1) ซึ่งจะเห็นได้ว่าความแตกต่างของความมากชนิดของ แมลงระหว่างพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ร่มไม้ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้พบว่ามีความมากชนิดของแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในระยะท้ายมากที่สุดเมื่อเทียบกับการศึกษา อื่นๆ ในบริเวณป่าฝนเขตร้อนของภาคใต้ของประเทศไทย เช่น การศึกษาของพัดชาและคณะ [1] พบแมลงในระยะท้าย จานวน 4 ชนิด การศึกษาของวัชรีและสุพิณญา [2] พบจานวน 16 ชนิด การศึกษาของอารีรัตน์ [4] พบจานวน 8 ชนิด และจากการศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยของ Vitta และคณะ [15] พบจานวน 6 ชนิด ทั้งนี้อาจเพราะขนาด ของซากที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นซากที่มีขนาดใหญ่กว่าทั้ง 3 การศึกษา จึงใช้ระยะเวลาในการเน่าสลายของซาก มากกว่าซากที่มีขนาดเล็ก โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ซากสุกรน้าหนัก 35–40 กิโลกรัม ส่วนการศึกษาของพัดชา และคณะ [1] วัชรีและสุพิณญา [2] และอารีรัตน์ [4] ใช้ซากสุกรขนาดเล็ก มีน้าหนักในช่วง 10–12 กิโลกรัม ขณะที่การศึกษาของ Vitta และคณะ [15] ใช้ซากสุกรมีน้าหนักในช่วง 3–4 กิโลกรัมเท่านั้น จากการศึกษาของ Catts และ Goff [5] ได้แนะนา น้าหนักของซากสุกรที่เหมาะสมในการทดลองควรมีขนาด 23 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานในการศึกษาการสลายตัวของ ซากทางนิติวิทยาศาสตร์ แต่ในการศึกษาของ Matuszewski และคณะ [11] ได้แนะนาน้าหนักของซากสุกรขนาดใหญ่ (อย่างน้อย 35–40 กิโลกรัม) ซึ่งซากขนาดใหญ่หรือซากขนาดกลาง/ใหญ่เท่านั้นที่จะพบแมลงกินซากได้ทุกกลุ่มและครบ วงจรชีวิต ขณะที่ซากขนาดเล็กหรือซากขนาดกลางจะมีแมลงกินซากเข้ามาในช่วงปลายน้อย (เช่น แมลงในวงศ์ Cleridae หรือวงศ์ Nitidulidae) และยังแสดงให้เห็นว่าซากที่มีน้าหนักประมาณ 23 กิโลกรัมหรือน้อยกว่านั้น จะให้ภาพการศึกษาที่ ไม่สมบูรณ์ของกลุ่มแมลงในซากและมีระยะเวลาในการเน่าสลายที่รวดเร็ว ซากที่มีขนาดดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมในการ ทดลอง การศึกษาครั้งนี้จึงได้ใช้ซากที่มีขนาดกลาง/ใหญ่ เพื่อต้องการทราบความมากชนิดแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์จาก ซากศพ เพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังใช้พื้นที่ศึกษาที่แตกต่างกัน 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ โล่งแจ้งและพื้นที่ร่มไม้ แม้ทั้งสองพื้นที่จะอยู่ใกล้เคียงกัน แต่มีระบบนิเวศที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความหลากหลายของ กลุ่มแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์และกลุ่มที่มีความจาเพาะกับพื้นที่นั้น อาจเป็นสาเหตุทาให้ได้ความหลากหลายของแมลง รวมกันมากกว่าการศึกษาอื่นๆ ด้วย 2. ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของแมลงในพื้นที่โล่งแจ้งและพื้นที่ร่มไม้ ผลการศึกษาครั้งนี้พบแมลงที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากซากสุกรร่วมกันทั้งสองพื้นที่ จานวน 14 ชนิด คิดเป็น 58 เปอร์เซ็นต์ โดยพบแมลงเฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งจานวน 4 ชนิด (17 เปอร์เซ็นต์) และพบแมลงเฉพาะพื้นที่ร่มไม้ 6 ชนิด (25 เปอร์เซ็นต์) ดังแสดงในตารางที่ 1 โดยพบว่าแมลงวันในชนิด Piophila casei และชนิด Hydrotaea spinigera ด้วงชนิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3