Proceeding2562

1072 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 6 Necrobia ruficollis และมดในชนิด Pheidole sp. เป็นแมลงกลุ่มเด่นที่มีบทบาทสาคัญในการเข้ามาใช้ประโยชน์จากซาก สุกรในระยะท้ายมากที่สุดรวมกันของทั้งสองพื้นที่ศึกษา แสดงให้เห็นว่าแมลงในชนิดดังกล่าวไม่ได้มีความจาเพาะเจาะจงกับ ระบบนิเวศแบบใด และสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากซากได้ดีทั้งพื้นที่โล่งแจ้งและร่มไม้ สอดคล้องกับการศึกษาของ Sukchit และคณะ [13] ที่พบว่าแมลงในกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มเด่นที่พบได้ในระยะท้ายของการเน่าสลายของซาก แต่ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจานวนตัวของแมลงที่พบในกลุ่มดังกล่าวแล้ว พบว่ามีแนวโน้มจะพบในพื้นที่ร่มไม้มากกว่าโล่ง แจ้ง ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าในพื้นที่ร่มไม้มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 28 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย เท่ากับ 78 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในพื้นที่โล่งแจ้งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า (30 องศาเซลเซียส) และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยที่น้อย กว่า (71 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งปัจจัยทางด้านอุณหภูมิและความชื้นเป็นปัจจัยพื้นฐานสาคัญที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของแมลง [14] จึงอาจเป็นสาเหตุสาคัญต่อการพบจานวนของแมลงในพื้นที่ร่มไม้มากกว่าพื้นที่โล่งแจ้ง ขณะที่แมลงวันในชนิด Musca domestica และ Sarcophaga sp. ด้วงชนิด Necrobia rufipes และมดชนิด Monomorium sp. (ตารางที่ 1) มีแนวโน้มที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากซากสุกรในพื้นที่โล่งแจ้งมากกว่าพื้นที่ร่มไม้ ขณะที่ แ ม ล ง วั น ใน ช นิ ด Allosepsis indica แ ล ะ Mimegralla albimana ม ด ช นิ ด Oecophylla smaragdina แ ล ะ Crematogaster sp. (ตารางที่ 1) มีบทบาทเด่นและเลือกที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์จากซากสุกรในพื้นที่แบบร่มไม้มากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากมดทั้งสองชนิดเป็นกลุ่มที่สร้างรังบนต้นไม้ [9] จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบมดในชนิดดังกล่าวในพื้นที่แบบร่มไม้ ด้วงเป็นแมลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการประมาณระยะเวลาการตายโดยเฉพาะในระยะสุดท้ายของการเน่า สลาย เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ชอบเข้ามากินเนื้อเยื่อที่มีการเน่าสลายไปแล้ว โดยเฉพาะเส้นใยโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โพรงกระดูก และหนังสัตว์ที่แห้งเป็นอาหาร [5,6,7] โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วงหนังสัตว์ชนิด Dermestes maculatus ถือเป็นด้วงที่มี ความสาคัญทางนิติกีฏวิทยามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นต่างประเทศ [5,6,7] หรือในประเทศไทย เช่น การศึกษาของ Pengsakul และคณะ [12] แสงชัยและคณะ [3] Vitta และคณะ [15] Sukchit และคณะ [13] เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นการศึกษาในภาค กลาง ภาคตะวันออกและภาคเหนือของประเทศไทย อย่างไรก็ตามในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ด้วงในชนิด Dermestes maculatus เป็นด้วงที่พบจานวนตัวน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าไม่มีบทบาทสาคัญต่อการเน่าสลายในระยะท้ายสาหรับ การศึกษาในครั้งนี้ สอดคล้องกับการศึกษาทั้งของ พัดชาและคณะ [1] วัชรีและสุพิณญา [2] และอารีรัตน์ [4] ที่ศึกษาการ เน่าสลายของซากสุกรในภาคใต้ของประเทศไทย แต่การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ด้วงในสกุล Necrobia เป็นด้วงกลุ่มเด่นใน ภาคใต้ของประเทศไทย (จังหวัดสงขลา) ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ด้วงในชนิด Necrobia ruficollis สามารถใช้เป็นตัวแทนในการประมาณระยะเวลาการตายได้ในระยะสุดท้ายได้ดีที่สุด เนื่องจากเป็นชนิดเด่นมากทั้งในแง่ จานวนตัวและมีความสามารถในการครอบครองพื้นที่หาอาหารทั้งในพื้นที่โล่งแจ้งและร่มไม้ของภูมิอากาศแบบภาคใต้ของ ประเทศไทย ตารางที่ 1 ความมากชนิดและจานวนตัวของแมลงที่พบในระยะท้ายของการเน่าสลายของซากสุกรในพื้นที่โล่งแจ้งและ พื้นที่ร่มไม้ ของพื้นที่ชานเมือง บริเวณตาบลคลองแห อาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อันดับ (Order)/ วงศ์ (Family) วงศ์ย่อย (Subfamily) สกุล (Genus)/ ชนิด (Species) จานวนตัว (Mean±SD) พื้นที่โล่งแจ้ง พื้นที่ร่มไม้ Diptera Calliphoridae Chrysomyinae Chrysomya megacephala 27.75±27.69 16.5±16.90 Micropezidae - Mimegralla albimana 1.75±2.87 53.25±60.92 Muscidae Azeliinae Hydrotaea spinigera 102.25±55.07 363.25±129.90 Muscinae Musca domestica 41.75±16.58 0.5±0.58 Piophilidae Piophilinae Piophila casei 192.75±67.72 964.25±347.23

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3