Proceeding2562
1075 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการฟักไข่ของไก่คอล่อนด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก วิศาล อดทน 1* และวิฑูร ศุภศิริพงศ์ 1 บทคัดย่อ การศึกษาประสิทธิภาพการฟักไข่ของไก่คอล่อน ใช้ไก่พ่อพันธุ์จ�ำนวน 28 ตัว และไก่แม่พันธุ์จ�ำนวน 101 ตัว ผสมพันธุ์ด้วยการ ผสมเทียม น�ำไข่เข้าฟักจ�ำนวน 4 ชุด รวมไข่เข้าฟักทั้งหมด 991 ฟอง เก็บข้อมูลประสิทธิภาพกาฟักไข่คือ การผสมติด การฟักออก ของไข่มีเชื้อ และการฟักออกของไข่ทั้งหมด บันทึกข้อมูลในรูปแบบตัวแปรทวิ (0,1) ปัจจัยที่คงที่ที่ท�ำการศึกษาได้แก่ ลักษณะคอ ล่อนของพ่อพันธุ์ (Na/Na และ Na/na+) ลักษณะคอล่อนของแม่พันธุ์ (Na/Na และ Na/na+) จ�ำนวนวันหลังผสมเทียม (1-6 วัน) ระยะเวลาเก็บรักษาไข่ (1-7 วัน) และชุดฟัก (1-4) ค่าอัตราการผสมติด อัตราการฟักออกของไข่มีเชื้อ และอัตราการฟักออกของไข่ ทั้งหมดเท่ากับ 72.05 79.10 และ 54.99% ตามล�ำดับ ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยคงที่ต่อประสิทธิภาพการฟักไข่ด้วยการ วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า Odd ของการผสมติดของพ่อไก่คอล่อน Na/Na มีค่าสูงกว่าพ่อพันธุ์ไก่คอล่อน Na/na+ 1.36 เท่า (P<0.05) แต่ Odd ของการฟักออกของไข่มีเชื้อจากพ่อไก่คอล่อน NA/NA มีค่าต�่ำกว่าพ่อพันธุ์ไก่คอล่อน Na/na+ 0.55 เท่า (P<0.05) และจ�ำนวนวันหลังการผสมเทียมที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 วัน มีผลให้การผสมติดและการฟักออกของไข่ทั้งหมดลดลง 0.79 และ 0.82 เท่า ตามล�ำดับ (P<0.01) ส่วนลักษณะคอล่อนของแม่พันธุ์และระยะเวลาเก็บรักษาไข่ไม่มีผลต่ออัตราการผสมติดและอัตราการฟักออก (P>0.05) ค�ำส�ำคัญ : การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก การผสมติด การฟักออกของไข่มีเชื้อ 1 คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 1 Department of Animal Science, Faculty of Technology Community Development, Thaksin University, Phatthalung, 93210, Thailand * Corresponding author: Tel.: 074-609600 ext. 3301. E-mail address: wisan@tsu.ac.th
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3