Proceeding2562

1082 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การส�ำรวจเชื้อ Rickettsia spp. ในสัตว์พาหะ (เห็บ หมัด ไรอ่อน) จากอ�ำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง อมรรัตน์ เสนพริก 1* ธนพล อยู่เย็น 2 และวุฒิกรณ์ รอดความทุกข์ 3 บทคัดย่อ บทน�ำ : โรคติดเชื้อริคเค็ทเชีย เป็นสาเหตุของไข้เฉียบพลันที่พบมากในประเทศไทย จัดอยู่ในกลุ่มโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีสัตว์ขา ข้อดูดเลือด จ�ำพวกหมัด เห็บและไรอ่อนเป็นพาหะน�ำโรค มนุษย์สามารถติดเชื้อริคเค็ทเชียได้โดยบังเอิญ (Accidental host) เมื่อ ถูกสัตว์พาหะกัด วัตถุประสงค์ : เพื่อส�ำรวจหาเชื้อ Rickettsia spp. จากแมลงพาหะในพื้นที่อ�ำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง พร้อมทั้งระบุสายพันธุ์ของ สัตว์ขาข้อดูดเลือด สายพันธุ์ของเชื้อก่อโรค และสร้างแผนที่ภูมิสารสนเทศแสดงพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรค วิธีการศึกษา : ส�ำรวจเก็บตัวอย่างเห็บและหมัด จากสุนัขเลี้ยงจ�ำนวน 23 ตัว จากสุนัขเลี้ยงที่ส�ำรวจทั้งหมด 50 ตัว และตัวอย่างไร อ่อนจากสัตว์ฟันแทะ จ�ำนวน 15 ตัว ตัวอย่างเห็บ หมัด และไรอ่อนที่เก็บได้รวม 303 กลุ่มตัวอย่าง จากพื้นที่ต�ำบลโคกสัก ต�ำบลท่า มะเดื่อ และต�ำบลนาปะขอ อ�ำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง น�ำตัวอย่างสัตว์ขาข้อดูดเลือดทั้งหมดไปตรวจหาเชื้อ Rickettsia spp. ด้วย ยีน 17kDa โดยใช้เทคนิค Real-time PCR ผลการศึกษา : การตรวจหาเชื้อ Rickettsia spp. ด้วยเทคนิค Real-time PCR ของยีน 17kDa พบอัตราการติดเชื้อ Rickettsia spp. ในเห็บร้อยละ 19 และหมัด ร้อยละ 98 เมื่อน�ำไปตรวจพิสูจน์สายพันธุ์ของเชื้อด้วยเทคนิคการถอดรหัสพันธุกรรมแล้วเทียบกับ ข้อมูลในธนาคารรหัสพันธุกรรม พบการติดเชื้อ Rickettsia spp. 2 สายพันธุ์ คือ R. asembonensis และ Rickettsia sp. cf1and5 จากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียในหมู่ที่ 2, 3, 7, 10 และ 12 ต�ำบลโคกสัก หมู่ที่ 1 และ 6 ต�ำบลท่ามะเดื่อ หมู่ที่ 3 และ 5 ต�ำบลนาปะขอ อ�ำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง วิจารณ์และสรุป : จากการศึกษาครั้งนี้ การตรวจพบการถ่ายทอดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียไปสู่มนุษย์นั้นพบว่า สายพันธุ์ R. asembon- ensis สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้ ในทางตรงกันข้ามสายพันธุ์ Rickettsia sp. cf1and5 ซึ่งยังไม่มีรายงานการก่อโรคในมนุษย์ ค�ำส�ำคัญ : โรคติดเชื้อริคเค็ทเชีย สัตว์ขาข้อดูดเลือด Real-time PCR Nested PCR 1 นิสิตปริญญาโท, สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 2 อ.ดร., สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง 93210 3 พ.อ. ดร., กองวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรุงเทพมหานคร 10400 1 Masters Degree., Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210 2 Dr., Department of Biology, Faculty of Science, Thaksin University, Phatthalung, 93210 3 Colonel. Dr., Armed Forces Research Institute of Medical Science, Royal Thai Army, Bangkok, 10400 * Corresponding author: Tel.: 087-289 7499 E-mail address: amornrat_sanprick@hotmail.com

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3