Proceeding2562
1084 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บทนา โรคติดเชื้อริคเค็ทเชีย (Rickettsioses) เป็นโรคหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุโดยอาการของโรค คือ มีไข้ สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดกระบอกตา และอาจมีผื่นตามตัว โรคไข้ริคเค็ทเซียเป็นโรคติดต่อจาก สัตว์สู่คน (Zoonosis) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียใน Family Rickettsiaceae s Genus Rickettsia เป็นโรคที่มีสัตว์ขาข้อ ดูดเลือด (Blood sucking arthropods) จาพวก หมัด เห็บ และไรอ่อน เป็นพาหะนาโรค (Vector) มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็กเป็นแหล่งรังโรค (Reservoir host) มนุษย์ติดเชื้อริคเค็ทเชียโดยบังเอิญ (Accidental host) เมื่อถูกสัตว์พาหะกัด โรคติดเชี้อริคเค็ทเซียแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคกลุ่มไข้ผื่น (Spotted fever group) กลุ่มไทฟัส (Typhus group) และ กลุ่มสครับไทฟัส (Scrub typhus group) [1] ในประเทศไทยมีการรายงานผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุที่เกิดจากเชื้อริคเค็ทเซีย มากถึง ร้อยละ 15 - 30 โดยผู้ป่วยโรคไข้ไม่ทราบสาเหตุเหล่านั้น ส่วนมากมักมีความเกี่ยวข้องกับการถูกสัตว์ขาข้อดูดเลือดที่ เป็นพาหะนาเชื้อแบคทีเรียริทเค็ทเชีย เช่น หมัด เห็บ และไรอ่อนกัด โรคติดเชื้อริคเค็ทเซียที่เป็นสาเหตุของไข้เฉียบพลันที่พบ มากในประเทศไทย ได้แก่โรคสครับไทฟัส และรองลงมาคือ โรคมิวรีนไทฟัส [2] สาหรับจังหวัดพัทลุง ในระหว่างเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 โรงพยาบาลบางแก้ว ร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ดาเนินการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อริคเค็ทเซียในกลุ่มผู้ป่วยไข้ไม่ทราบสาเหตุใน พื้นที่ โดยตรวจวินิจฉัยโรคด้วยวิธีทางอณูชีวโมเลกุล พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส ร้อยละ 13.7 (35 / 255) นอกจากนี้ยังพบว่า ใน กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้นอกจากป่วยด้วยโรคสครับไทฟัสแล้ว ยังพบว่าป่วยเนื่องจากติดเชื้อริคเค็ทเซียชนิดอื่น ๆ อีกร้อยละ 7.5 (19 / 255) จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าในอาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มีเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียหลายสายพันธุ์แพร่กระจายอยู่ และก่อให้เกิดโรคกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นี้ จึงนาไปสู่วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ โดยข้อมูลที่ได้สามารถนามาใช้ เป็นข่าวกรองทางการแพทย์ สาหรับวิเคราะห์ ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียในพื้นที่นี้ได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ อย่างมากสาหรับใช้วางแนวทางในการเวชกรรมป้องกันโรคริคเค็ทเซีย ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ วิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสารวจจากตัวอย่าง (Sample survey research) โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์ขาข้อดูด เลือด พาหะนาโรคติดเชื้อริคเค็ทเชีย คือ เห็บ หมัด และไรอ่อน จานวน 303 กลุ่มตัวอย่าง (909 ตัว) จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนาดเล็ก คือ สุนัข และสัตว์ฟันแทะในพื้นที่ดาเนินการ 3 พื้นที่ คือ เขตพื้นที่ตาบลโคกสัก ตาบลท่ามะเดื่อ และตาบลนาปะขอ อาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 นาตัวอย่างสัตว์ขาข้อดูดเลือด ที่ได้มาทาความสะอาดภายนอก โดยใช้ 1 : 10 Bleach + Tween 80, 0.5 % Benzalkonium Chloride, 70 % Alcohol และน้ากลั่น (Distilled water) จากนั้นนาตัวอย่างสัตว์ขาข้อดูดเลือดไปจาแนกสายพันธุ์โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยา (Morphology) โดยใช้เอกสารของ อัญชนา (2556) [3], สานักโรคติดต่อนาโดยแมลง (2546) [4] Nava et al. (2015) [5], Hiil et al. (2015) [6] และ Nadchaatram (1974) [7] ต่อมานาเห็บ หมัด และไรอ่อน สกัด Genomic DNA โดยใช้ชุดสกัดดี เอนเอ GeneJET Viral DNA and RNA Purification Kit (Thermo scientific, USA) และนา Genomic DNA ที่ได้ไปศึกษา อัตราการติดเชื้อริคเค็ทเซียโดยใช้เทคนิคทางอณูชีวโมเลกุล (Molecular- technique) คือ เทคนิค Real - time PCR โดยไพร เมอร์ที่ใช้ในการศึกษาด้วยเทคนิค Real - time PCR ได้แก่ Primer F R17K128F2 (5’ GGG CGG TAT GAA YAA ACA AG 3’), Primer R R17K238R (5’ CCT ACA CCT ACT CCV ACA AG 3’) และ Probe R17K202TagP (5’-/56-FAM/CCG AAT TGA GAA CCA AGT AAT GC/ 3’) เตรียมสารละลายสาหรับ PCR (Master mix) โดยใช้ 10X buffer ให้ได้ความ เข้มข้น 1X แมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2) ให้ได้ความเข้มข้น 25 mM 10 mM dNTPs ให้ได้ความเข้มข้น 0.2 mM ไพรเมอร์ (Primer) และ Probe เข้มข้น 25 µM ให้ได้ความเข้มข้นอย่างละ 0.4 µM (ทั้ง Forward primer และ Reverse primer)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3