Proceeding2562
1085 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5U/µl Taq DNA polymerase (Invitrogen, USA) ปฏิกิริยาละ 1.25 U และ Genomic DNA ของแมลงขาปล้องดูดเลือด (Template) ปริมาตร 2 µl นา Master mix ที่ได้ใส่ลงในเครื่อง CFX96TM Real - Time PCR Detection System (Bio - Rad, Hercules, CA, USA) โดยตั้งค่า PCR cycles คือ 50°C 3 นาที 95°C 2 นาที 95°C 15 วินาที และ 60°C 30 วินาที ตามลาดับ ทั้งหมด 45 รอบ วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรม Bio - Red CFX Manager และตรวจสอบผลด้วย 1.5 % Agarose gel electrophoresis โดยดูด้วยเครื่องถ่ายภาพเจลภายใต้แสง Ultraviolet (UV) (Gel box) รุ่น Syngene G:Box โดยดีเอ็น เอของเชื้อ Rickettsia spp. จะมีขนาด 320 bp นาตัวอย่างดีเอ็นเอของเชื้อ Rickettsia spp. ที่ตรวจพบจากกลุ่มตัวอย่างเห็บ และหมัดไปถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อพิสูจน์ทราบสายพันธุ์ของเชื้อ โดยตัดชิ้นเจลที่ขนาดดีเอ็นเอ 320 bp นาไป Purification ก่อนนาไปดาเนินการในขั้นตอนการถอดรหัสพันธุกรรม เมื่อทราบลาดับนิวคลีโอไทด์แล้วจะนาไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทาง วิวัฒนาการของเชื้อ Rickettsia spp. ที่ตรวจพบ โดยสร้างแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ (Phylogenetic tree) ซึ่งใช้วิธีการจัดกลุ่มจากระยะห่างทางพันธุกรรม (Genetic distance) ที่ได้จากวิธี Neighbor joining (NJ) และวิเคราะห์ค่า Bootstrapping จานวน 1,000 ครั้ง โดยใช้โปรแกรม MEGA และนาข้อมูลพิกัดทางภูมิศาสตร์ไปจัดทาแผนที่การกระจายตัว ของเชื้อ Rickettsia spp. โดยจัดทาเป็นแผนที่ภูมิสารสนเทศ (GIS) โดยใช้โปรแกรม ArcMap เพื่อระบุแหล่งที่พบเชื้อ Rickettsia spp. ในพื้นที่อาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษาสัตว์พาหะนาโรคติดเชื้อริคเค็ทเซียในครั้งนี้พบเห็บจานวน 3 สายพันธุ์ คือ Rhipicephalus sanguineus , R. microplus และ Haemaphysalis sp. ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเห็บแข็ง (Hard ticks) พบหมัด 3 สายพันธุ์ คือ Ctenocephalides felis orientis (หมัดแมว) C. f. felis (หมัดแมว) และ C. canis (หมัดสุนัข) โดยผลการศึกษาครั้งนี้พบสัตว์ พาหะสายพันธุ์เดียวกันกับรายงานการวิจัยของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมแพทย์ทหารบก [8] ซึ่งเก็บ ตัวอย่างในพื้นที่ปฏิบัติการทางทหารตามแนวชายแดน พบเห็บทั้งหมด 7 สายพันธุ์ และหมัด 2 สายพันธุ์ โดยเห็บ 3 สายพันธุ์ที่ พบเช่นเดียวกันคือ R. sanguineus R. microplus และ Haemaphysalis sp. และอีก 4 สายพันธุ์ที่ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้ คือ Dermacentor sp. Amblyomma sp. Hyalomma sp. และ Ixodes sp. อย่างไรก็ตามเห็บทั้ง 3 สายพันธุ์พบว่าเป็น พาหะนาเชื้อริคเค็ทเซียเช่นเดียวกัน สาหรับหมัดในการศึกษาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารรายงานแค่ระดับ สายพันธุ์ คือ C. canis (หมัดสุนัข) และ C. felis (หมัดแมว) แต่ในการศึกษาครั้งนี้สามารถระบุได้ถึงระดับสายพันธุ์ย่อย (Sub species) อย่างไรก็ตามหมัดที่พบในการศึกษาทั้ง 2 พื้นที่ พบว่าเป็นพาหะนาเชื้อริคเค็ทเซีย เช่นเดียวกัน และ พบ ไรอ่อน 4 สายพันธุ์ คือ Leptotrombidium deliense , Aschoschoengastia indica , Blankaartia acuscutellaris และ Walchia disparunguis pingue การศึกษาสายพันธุ์เชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียในเห็บ หมัด และไรอ่อน ด้วยเทคนิค Real - time PCR พบการติดเชื้อ ก่อโรคริคเค็ทเซีย 2 สายพันธุ์ คือ R. asembonensis (ภาพที่ 1) มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 68.9 และ Rickettsia sp. cf1and5 มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 31 โดยไรอ่อนไม่พบการติดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซีย โดยเห็บสายพันธุ์ R. sanguineus เป็น สัตว์พาหะนาเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ และพบว่าเห็บสายพันธุ์ R. microplus และ Haemaphysalis sp. เป็น สัตว์พาหะนาเชื้อ R. asembonensis เพียงชนิดเดียว จากการสืบค้นข้อมูลพบว่าเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียสายพันธุ์ R. asembonensis มีรายงานการก่อโรคในมนุษย์ ส่วนสายพันธุ์ Rickettsia sp. cf1and5 ยังไม่มีรายงานการก่อโรคในมนุษย์ โดยเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียที่มีรายงานการก่อโรคในมนุษย์ คือ R. typhi เป็นเชื้อก่อโรคมิวรีนไทฟัส (Murine - typhus) และ R. felis เป็นเชื้อก่อโรคในกลุ่มไข้ผื่น (Spotted fever group) [8][9] การศึกษาเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซียของ Kamonwan (2015) [10] ที่ศึกษา 7 จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย พบการติดเชื้อ Rickettsia sp. cf1and5 ในเห็บสายพันธุ์ R. sanguineus เช่นเดียวกับการศึกษาครั้งนี้ แต่ไม่พบเชื้อ R. asembonensis โดยมีอัตราการติดเชื้อ Rickettsia sp. cf1and5
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3