Proceeding2562
1086 การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 29 ประจ�ำปี 2562 วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร้อยละ 63.63 ซึ่งสูงกว่าที่พบในการศึกษาครั้งนี้ ในการศึกษาครั้งนี้พบเห็บในสกุล Haemaphysalis sp. และ R. microplus และหมัดสายพันธุ์ C. f. orientis , C. f. felis และ C. canis มีการติดเชื้อก่อโรคริคเค็ทเซีย 1 สายพันธุ์ คือ R. asembonensis สอดคล้องกับงานวิจัยของ Oteo et al. (2014) [11] ที่รายงานจากประเทศเอกวาดอร์ (Ecuador) เมื่อนา R. asembonensis ไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการด้วยแผนภูมิความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม (Phylogenetic tree) กับเชื้อ Rickettsia อื่น ๆ พบว่า R. asembonensis มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเชื้อริคเค็ทเซียสายพันธุ์ R. felis เช่นเดียวกับการศึกษาของ Jiang et al. (2013) [12] ที่ทาการศึกษาในประเทศเคนยา พบหมัดสายพันธุ์ C. felis และ C. canis มีการติดเชื้อก่อโรค ริคเค็ทเซีย สายพันธุ์ R. asembonensis นอกจากนี้ยังพบว่าหมัดสายพันธุ์ C. felis ยังพบเชื้อในสายพันธุ์ R. felis ด้วย การตรวจพบการถ่ายทอดเชื้อ R. asembonensis ที่ตรวจพบในเห็บ และหมัดจานวนมากที่จับจาก อาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จากการศึกษาในครั้งนี้ไปสู่มนุษย์นั้น จากการศึกษาของวุฒิกรณ์ และคณะในปี 2561 ตรวจพบเชื้อ R. asembonensis ในเลือดผู้ป่วยที่เข้ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลบางแก้ว อาเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จานวน 2 ราย ซึ่ง แสดงว่า เชื้อ R. asembonensis สามารถก่อโรคในมนุษย์ได้ และเป็นการรายงานผลการวิจัยเป็นครั้งแรกที่ตรวจพบการติด เชื้อ R. asembonensis ในผู้ป่วยในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ที่ตรวจพบเชื้อ R. asembonensis ในเห็บ และหมัด จานวนมาก จึงเป็นงานวิจัยที่ทรงคุณค่ายิ่ง ที่สามารถนาข้อมูลไปใช้เป็นข่าวกรองทางการแพทย์ เพื่อแจ้งเตือนประชาชนที่ อาศัยอยู่ในบริเวณที่ตรวจพบเชื้อ R. asembonensis ในเห็บ และหมัดให้ระวังตัวไม่ให้ถูกสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนี้กัด พร้อมทั้ง สามารถนาข้อมูลที่ได้จากการวิจัยไปแจ้งให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อ R. asembonensis ได้ ภาพที่ 1 ผลการตรวจหาอัตราการติดเชื้อแบคทีเรียริคเค็ทเซีย สายพันธุ์ R. asembonensis จากหมัด ด้วยเทคนิค Real - time PCR
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3